แต่จะมาพูดถึงflawsของสองเส้นทางในความเป็นจริงในตอนนี้
ใครที่มาเพื่อจะตามฉอดว่า กูไม่เอา มันไม่เท่าเทียม หยุดที่ทวิตนี้แล้วเชิญมิ้วเทรดไปจ้ะ ไม่คุยด้วย มีmental stabilityต้องรักษา บั๊ย
อ่ะหลังจากนี้เข้าเรื่องละ
เท่าเทียมกว่า จบกว่า ควรจะเป็นมากกว่าในทางอุดมการณ์ ถูกจ้า
ปัญหามีอยู่ที่ประเด็นเดียว (ซึ่งงงมากว่าทำไมไม่มีใครเห็น) คือ ทำไมต้องมีการหมั้น?
พ้อยของการหมั้น คือสัญญาว่าจะแต่ง ของหมั้น และสินสอด
การหมั้นคือสัญญาว่าจะแต่ง ทีนี้ ถ้าหมั้นแล้วเปลี่ยนใจไม่แต่ง จะบังคับให้แต่งก็ไม่ได้ ได้แต่เรียกค่าทดแทน ซึ่งตามตรรกะแล้ว ควรเป็นแบบนั้นหรอ คนเราจะเปลี่ยนใจเมื่อไหร่ก็ควรได้เสรีภาพนั้นไหม ทำไมต้องเสียเงินให้กับอีกฝ่ายถ้าใจหมดรัก?
ซึ่งเชื่อมโยงไปเรื่องที่2 คือ ของหมั้น
การที่กฎหมายเรื่องหมั้น โฟกัสที่ค่าชดเชยฝ่ายผิดสัญญา โฟกัสที่การคืนของหมั้น มันมีส่วนให้ผู้อยู่ใต้บงัคับของกฎหมายยึดติดกับที่ว่า ความสัมพันธ์นี้ต้องมีราคาค่างวด
แล้วถ้าใครซักคนต้องจำใจแต่งงานเพราะไม่มีปัญญาจ่ายค่าชดเชยหล่ะ
พรรค และกลุ่มคน ที่เชิดชูความเท่าเทียมกันมาเหนือสิ่งอื่นใด แก้กฎหมายเพื่อความเท่าเทียมที่ตั้งธงมาตั้งแต่พรรคยังอยู่ในไข่ โดยไม่ศึกษาเลยแม้แต่นิดเดียวว่า สินสอด มันบ่งบอกถึงอะไร
ทำไมผู้ชายต้องให้เงินพ่อแม่ผู้หญิง ทำไมผู้ชายต้อง “ไปขอลูกสาวเขา”
สินสอดเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงทัศนคติ “หญิงเป็นสมบัติของชาย” “ลูกเป็นสมบัติของพ่อแม่”
ตอนแก้ชายหญิงให้เป็นผู้หมั้นกับผู้รับหมั้นนี่ไม่จั๊กกะเดี๋ยมมั่งเลยหรอ ว่ามันฟังดูอิหยังวะตรรกะปังปิ๊นาดขนาดไหน
หรือแค่อยากจะเหมือนๆ กับเขาไป โดยที่ไม่สนใจหรอกว่ามันเท่าหรือไม่เท่า
ซึ่งเราจะมาพิจารณากันทีละประเด็น เอาอันง่ายสุดก่อน ศาสนา
เป็นเรื่องจริงที่ว่ามีแรงต้านที่รุนแรงจากตัวแทนของทั้งคริสต์และอิสลาม (ตัวแทนที่ศาสนาส่งไปประชุมนะ)
คำนิยามนี้แสดงถึงความตื้นเขินของผู้ร่างกฎหมาย ในเรื่องความหลากหลายทางเพศมากๆ ถ้าทอมชอบผู้ชายอ่ะ หรือถ้ากระเทยชอบทอมอ่ะ แล้วถ้าคนๆ นั้นเกิดขึ้นมาโดยมี2เพศอ่ะ
นี่คือปํญหาของการมีแต่ไดโนเสาร์ในกฤษฎีกา
ง่ายกว่าคืออะไร
ง่ายกว่าในที่นี้คือ การตรากฎหมายใหม่ มันง่ายกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเก่า โดยเฉพาะถ้ากฎหมายเก่านั้นเชื่อมโยงผูกพันอยู่กับกฎหมายอื่นๆ เป็นร้อยเป็นพันฉบับ
คำชี้แจงของผู้ร่างบอกว่า ออกแบบนี้ง่ายกว่า
(po จริงๆอันนี้น่าจะเหตุผลสำคัญที่สุดเลย)
และอย่างที่บอกว่า ความง่ายกว่า มันเชื่อมโยงไปกับความไม่พร้อม
คนที่ไม่ได้ทำงานด้านนี้อาจจะไม่รู้ว่าปัญหาทุกอย่างในประเทศมันไม่ได้แก้ไขด้วยการเสกกฎหมายระดับ พรบ. ออกมาฉบับเดียว ล่าสุดที่เขาเลื่อนพรบคุ้มครองข้อมูล เขาไม่ได้เห็นแก่โควิดห่าไรหรอก กระทรวงมันอกกกฎหมายลูกไม่ทันต่างหาก
ขอแปลง่ายๆให้คนปกติเข้าใจ คือ กฎหมายระดับ พรบ (ประมวลหรือ ปพพ ก็เป็น พรบ แค่มีชื่อเก๋ๆ) จะประกาศใช้ได้ มันต้องผ่าน “สภา” ซึ่งสภาในที่นี้ ตัดสินกันด้วยการโหวต ตามระบอบประชาธิปไตยที่อาศัยเสียงข้างมาก
ทีนี้ กระบวนการผ่านสภามันก็มีดีเทล ซึ่งแบบ แม้แต่คู่ชีวิตก็อาจจะไม่ผ่านได้ ถ้าโดนตัดขาโดยกรรมธิการพิจารณากฎหมายหรือโดยคำสั่งของใครก็แล้วแต่
กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงพัฒนาสังคมต้องกำลังใจสั่น กลัวกฎหมายไม่ผ่าน กลัวสภาตีตก 55555555555555
แต่เราจะไปต่อกันที่ประเด็นสุดท้าย what if แต่ละร่างผ่าน ผลจะเป็นยังไง
คิดไม่ออกว่าจะแยกฝั่งหรือพูดรวมๆกันดี เอาตามที่เขียนออกละกันนะ
ถามว่าแล้วทำไมก่อนหน้านี้ไม่มีปัญหาสภาออกกฎหมายเองแล้วส่วนราชการไม่ทำ ก็อย่างที่บอก ไม่เคยมีกฎหมายฝ่ายค้านที่ผ่าน แล้วพอมันเป็นกฎหมายฝ่ายรัฐบาล ยังไง ครม.ก็ได้ผลงาน มันเลยมีการยอมรับมีการสั่งการให้ทำตาม
แต่ที่น่าสมเพชก็คือ รัฐบาลไม่สามารถแถลงข่าวประชาสัมพันธ์อะไรให้คนเชื่อถือเชื่อมั่น แก้ต่างความไม่เข้าใจอะไรได้เลย
อุบาทว์จริงๆ
ใครเอาไปออกข่าวไม่ขอ แม่จะฟ้องให้ได้เงินทำทุนไปเรียนโทเมืองนอก คอยดู