TAXBugnoms Profile picture
Aug 24 7 tweets 2 min read
เธรดนี้จะมาคุยเรื่อง #ภาษี และ การ #ออกจากงาน กันบ้างครับ

สำหรับคนที่ตัดสินใจออกจากงานวันนี้ หรือถ้าถูกสั่งให้ออกจากงานทันที ควรวางแผนจัดการภาษีอย่างไร ?

สิ่งที่ต้องรู้มี 3 เรื่องสำคัญตามนี้ครับ

(ต่อ) Image
1. รายได้จากการทำงานต้องยื่นภาษีอยู่
ออกจากงานไม่ได้แปลว่าไม่ต้องเสียภาษี
แต่รายได้ที่มีต้องเอามายื่นภาษีเหมือนเดิม

ส่วนใครที่ออกแล้วได้ทำงานที่ใหม่
ก็ให้เอาเงินเดือนทุกที่ที่ทำงานในปีนั้น ๆ
มารวมกันเพื่อยื่นภาษีได้เลยครับผม
(เงินเดือน = เงินได้ประเภทที่ 1)

(ต่อ) Image
อย่างไรก็ดีสิ่งที่ต้องเช็คในวันที่ออกจากงาน
อยากแนะนำเพิ่มเติม 3 เรื่องดังนี้ครับผม

1. ใบหัก ณ ที่จ่ายต้องได้ครบ
2. ผลประโยชน์อื่น ได้รับหรือเปล่า
3. เราจะจัดการชีวิตอย่างไร มีเงินพอไหม

(ต่อ)
2. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

ถ้าได้เงินชดเชย อยากให้มั่นใจว่า ได้รับเงินชดเชยประเภทไหนกันแน่ เช่น เงินชดเชยจากการเลิกจ้างตามกฎหมาย หรือเงินชดเชยอื่นๆ ที่นายจ้างอยากให้

ถ้าไม่ใช่เงินชดเชยเลิกจ้างตามกฎหมาย จะไม่ได้สิทธิ์ยกเว้นภาษี 300,000 บาท ต้องเอามาคำนวณภาษีตามปกติครับ

(ต่อ) Image
3. เงินชดเชยอื่น ๆ ที่ได้รับเมื่อออกจากงาน เช่น เงินที่นายจ้างให้ หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)

ส่วนนี้ต้องมาคำนวณเป็นรายได้เพื่อยื่นภาษี แต่สามารถแยกคำนวณเงินก้อนนี้ได้ หากเรามีอายุการทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึนไป เรียกว่า เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน

(ต่อ) Image
อย่างไรก็ตามสำหรับ PVD นั้น มีเทคนิคนิดหน่อยครับ ถ้าหากไม่ต้องการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เราต้องทำอย่างใดอย่างนึงใน 3 ข้อนี้

1. ขอคงไว้ในกองทุน ไม่เอาออกมา
2. ขอย้ายไปกองทุนใหม่ของที่ทำงานใหม่ (ถ้ามี)
3. ขอสลับไปไว้ที่ RMF for PVD แทน

(ต่อ)
พรี่หนอมเคยทำคลิปไว้ ลองดูเพิ่มเติมได้นะครับ

• • •

Missing some Tweet in this thread? You can try to force a refresh
 

Keep Current with TAXBugnoms

TAXBugnoms Profile picture

Stay in touch and get notified when new unrolls are available from this author!

Read all threads

This Thread may be Removed Anytime!

PDF

Twitter may remove this content at anytime! Save it as PDF for later use!

Try unrolling a thread yourself!

how to unroll video
  1. Follow @ThreadReaderApp to mention us!

  2. From a Twitter thread mention us with a keyword "unroll"
@threadreaderapp unroll

Practice here first or read more on our help page!

More from @TAXBugnoms

Nov 28, 2021
สรุปเก็บตกประเด็นจาก #FinanceOnSpaces วันนี้ (การเงินและชีวิตปี 2022) ที่ได้จากการพูดคุยกับพี่หนุ่ม @moneycoach4thai และน้องโอม @Office04TH

1. รายได้ที่มีรักษาให้ดี มองหาช่องทางเพิ่ม
2. เงินสำรองมีไว้ 6 เดือนพอไหว แต่ถ้าต้องใช้เมื่อไรให้ระวัง ใจเย็นไม่ได้แล้วนะ

(ต่อ)
3. เก็บเงินเท่าที่ไหว
แม้ไม่ได้ตามทฤษฎี แต่ดีที่ได้เริ่มต้น

4. จะเป็นหนี้ก้อนใหญ่ให้คิดดีๆ
ทำตัวเลขการเงิน 6 เดือนข้างหน้า

5. หนี้ไหนคิดว่าไม่ไหวให้เจรจา
เจรจาก่อนหนี้เสีย ไม่ติดเครดิตบูโร

6. การลงทุนหลังวิกฤต
ไม่ว่าจะลงทุนอะไร ขอให้ปฎิบัติด้วยความรู้

(ต่อ)
7. อย่ากู้มาลงทุน อย่ามั่นใจเกินไป
บางทีความเสียหายอาจจะร้ายแรงกว่า

8. ถ้าใครเป็นเดอะแบกของครอบครัว
แล้วรู้สึกว่าไม่ไหว ให้เปิดใจคุย อย่าเก็บ

(ต่อ)
Read 7 tweets
Nov 26, 2021
จ่ายเงินค่าจ้างจำนวนต่างกัน
20-200-2,000-20,000 บาท

ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเท่าไร ?
ลองดูข้อมูลได้ที่นี่ครับ

#riety Image
ประเด็นสำคัญของการหักภาษี ณ ที่จ่าย
แยกออกมาได้ทั่งหมด 5 ข้อ

ข้อแรก เงินได้เป็นประเภทไหน (1-8)
ข้อสอง ผู้รับเป็นใคร (บุคคล/นิติบุคคล)
ข้อสาม ผู้จ่ายเงินเป็นใคร (บุคคล/นิติบุคคล)
ข้อสี่ กฎหมายกำหนดไว้ยังไง (หัก/ไม่หัก)
ข้อห้า มีข้อยกเว้นเรื่องไหนไหม

(ต่อ)
โดยในกรณีการจ่ายค่าจ้างหรือค่าบริการ
เราต้องรู้ก่อนว่า เป็นเงินได้ประเภทไหน

ยกตัวอย่างเช่น ค่าบริการออกแบบ
มักจะไปสัมพันธ์กับสถานะของผู้รับเงิน

ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา
มักจะถูกตีความว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 2
เพราะมองว่าทำคนเดียวได้ (รับจ้าง)

(ต่อ)
Read 10 tweets
May 10, 2021
ทีเอ็มบี + ธนชาต รวมกัน
กลายเป็น ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ttb

สรุปประเด็นน่ารู้หลังจากรวมกัน

1. เมื่อรวมกันแล้ว จะกลายเป็น
ธนาคารขนาดใหญ่ลำดับที่ 6 ของไทย
ฐานลูกค้าขยายใหญ่ขึ้นแตะระดับ 10 ล้านราย

2. ttb ตั้งใจใช้ตัวพิมพ์เล็ก เพื่อเป็นตัวแทน
ของความอ่อนน้อมและเข้าถึงได้ง่าย

(ต่อ)
3. จุดแข็งของทั้งสองธนาคารที่ได้รวมกัน
TMB มีจุดแข็งด้านเงินฝาก อย่างที่เราเห็น
ผ่าน TMB All Free / TMB No Fix ก็ยังมีอยู่

ธนชาต มีจุดแข็งด้านสินเชื่อรายย่อย
โดยเฉพาะ สินเชื่อรถยนต์ รถแลกเงิน ก็มาด้วย

การรวมกันย่อมสนับสนุนและสร้างโอกาส
การเติบโตของธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น

(ต่อ)
4. เป้าหมายธุรกิจใหม่หลังจากรวมกัน

1. ลูกค้ามีชีวิตการเงินที่ดี ผ่าน 4 เสาหลัก ฉลาดใช้ฉลาดออม รอบรู้เรื่องกู้ยืม ลงทุนเพื่ออนาคต และ มีความคุ้มครองที่อุ่นใจ

2. มุ่งสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นมิตรและรู้ใจ

3. สร้างศักยภาพบุคลากร พนักงานเป็นที่ปรึกษาการเงินให้ลูกค้าได้

(ต่อ)
Read 4 tweets
Jan 13, 2021
สรุปข่าวภาษี 12 วันที่ผ่านมา

1. ภาษีเงินได้บุคคล ยังไม่เลื่อน
ยื่นออนไลน์ได้ถึง 8 เมษายน 2564

2. ภาษีที่ดิน ไม่เลื่อน
แต่อาจลด 90% ให้เหมือนปีก่อน
แถมลดค่าธรรมเนียมโอนเหลือ 0.01%
สองตัวนี้ให้รอลุ้นมติ ครม. อีกสักพัก

(ต่อ)
3. เราเที่ยวด้วยกัน เราไม่ทิ้งกัน
โครงการคนละครึ่ง โครงการกำลังใจ
ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้
สำหรับเงินสนับสนุนส่วนที่ประชาชนได้รับ
แต่ผู้ขายสินค้าหรือบริการยังต้องเสียภาษีนะ

4. E-withholding TAX ต่ออายุเพิ่ม
ลดอัตราภาษีหัก 5% > 2% และ 3% > 2%
ไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
5. บริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่ลงทุนหรือใช้บริการระบบต่อไปนี้
- e-Tax Invoice & e-Receipt
- e-Withholding Tax

ในช่วงเวลาและเงื่อนไขที่กำหนด
1 มกราคม 2563 - 31 ธันวาคม 2565

สามารถเอามาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า
ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
Read 4 tweets
Jan 11, 2021
กรณี #พิมรีพาย ที่มีคนถามว่า บริจาคแล้วเอาไปลดหย่อนภาษี จริงไหม?

ต้องดูรายละเอียดก่อนตัดสินครับ

1. บริจาคในนามบุคคลหรือบริษัท เพราะถ้าเป็นบุคคล จะลดหย่อนภาษีได้ ต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น

(ต่อ)
2. จากข้อมูลเท่าที่ทราบ คือ บริจาคเงินเพื่อไปซื้อของ ดังนั้นถ้าเป็นการบริจาคในนามบุคคล ต้องได้ใบเสร็จจากโรงเรียนก่อนว่าได้รับเงิน

ส่วนถ้าเป็นของ (จะใช้ได้ในกรณีบริษัท) ดังนั้นต้องมีการซื้อและออกเอกสารในชื่อบริษัท ไม่ใช่ให้คนอื่นไปซื้อให้

(ต่อ)
3. ประเด็นสุดท้ายที่เห็น คือต่อให้บริจาคเงิน 500,000 บาทแล้วได้สิทธิลดหย่อนภาษี 2 เท่าจริงๆ ก็อาจไม่ได้คุ้มค่าขนาดนั้น เพราะเวลาเอาไปใช้จะติดเพดาน 10% ของเงินได้สุทธิ (ก่อนหักเงินบริจาค) ซึ่งถ้าจะใช้ได้เต็มสิทธิ์ แปลว่าต้องมีเงินได้สุทธิ 10 ล้านบาทในการคำนวณภาษีเลยทีเดียว

(ต่อ)
Read 4 tweets
Dec 6, 2018
36 ข้อสั้นๆ อ่านทำความเข้าใจ
ทำไมธนาคารต้องส่งข้อมูลบัญชีเราให้สรรพากร

1. หลายคนกำลังสงสัยว่าทำไมธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร
2. คำตอบง่ายๆ คือ เพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษี
3. เพราะทุกวันนี้ คนที่อยู่นอกระบบมันเยอะเหลือเกิน
4. พี่สรรพากรเลยอยากเชิญมาเสียภาษีให้ถูกต้อง
5. อย่าเพิ่งข้องใจว่าจะมารีดภาษี เพราะการเสียภาษีเป็นหน้าที่
6. คิดดีๆ คนที่มีหน้าที่เสียภาษีคือคนที่มีรายได้ใช่ไหม?
7. ถ้ามีรายได้แล้วไม่เสียภาษี คือ คนที่ทำผิดกฎหมายนะ
8. แต่เดี๋ยวก่อนจ๊ะ กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ออกมาเพื่อเก็บภาษี
9. แค่สั่งให้ธนาคารและสถาบันการเงินส่งข้อมูลบัญชีให้สรรพากร
10. โดยจะต้องเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายสั่งก่อน ตามนี้
11. มีรายการฝากหรือรับโอนเงินตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป
12. หรือมีรายการฝากหรือรับโอนเงินตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และมียอดรวม 2 ล้านบาทขึ้นไป
Read 12 tweets

Did Thread Reader help you today?

Support us! We are indie developers!


This site is made by just two indie developers on a laptop doing marketing, support and development! Read more about the story.

Become a Premium Member ($3/month or $30/year) and get exclusive features!

Become Premium

Don't want to be a Premium member but still want to support us?

Make a small donation by buying us coffee ($5) or help with server cost ($10)

Donate via Paypal

Or Donate anonymously using crypto!

Ethereum

0xfe58350B80634f60Fa6Dc149a72b4DFbc17D341E copy

Bitcoin

3ATGMxNzCUFzxpMCHL5sWSt4DVtS8UqXpi copy

Thank you for your support!

Follow Us on Twitter!

:(