20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) รัชกาลที่ 1 ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เรื่อง รามเกียรติ์
#พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ #วันนี้ในอดีต

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เรื่อง รามเกียรติ์ ร่วมกับกวีในราชสำนักเพื่อใช้เป็นบทละครใน และต่อมาในปี 2502
2. ทางสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวันคุ้มครองสิทธิเด็กสากล

ต้นเค้าของเรื่องรามเกียรติ์มาจากเรื่องรามายณะซึ่งเป็นนิทานที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้ ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าชาวอินเดียได้นำวัฒนธรรมและศาสนามาด้วย ทำให้รามายณะ
3. แพร่หลายไปทั่วภูมิภาค กลายเป็นนิทานที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศนั้นจนกลายเป็นวรรณคดีประจำชาติไป ดังปรากฏในหลายชาติ เช่น ไทย ลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนมีวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีประจำชาติทั้งสิ้น
4. “รามเกียรติ์” มีเค้าจากวรรณคดีอินเดียคือมหากาพย์รามายณะที่ ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ฮินดู

สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ของไทยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
5. ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ
6. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์ ซึ่งขณะนั้นพระองค์ต้องการที่จะฟื้นฟูบ้านเมืองให้มีความเจริญเทียบเท่าอารยประเทศ จึงมีการฟื้นฟูด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา, การปกครอง และศิลปวัฒนธรรม โดยส่วนใหญ่แล้วการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
7. จะเน้นเรื่องวรรณกรรมเป็นหลัก อย่างเช่น วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ที่มีการค้นพบว่าเก่าแก่ที่สุดในสมัยอยุธยาแต่ยังไม่สมบูรณ์ดีนัก

ทำให้เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2340 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงเริ่มพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ใหม่ด้วยพระองค์เอง
8. ลงในสมุดปกดำแบบโบราณ เพื่อให้ละครหลวงเล่น โดยได้ทรงเลือกมาเป็นตอนๆ ซึ่งมีความยาวประมาณ 102 เล่มตั้งแต่ต้นจนจบบริบูรณ์

• • •

Missing some Tweet in this thread? You can try to force a refresh
 

Keep Current with HuixianHuang

HuixianHuang Profile picture

Stay in touch and get notified when new unrolls are available from this author!

Read all threads

This Thread may be Removed Anytime!

PDF

Twitter may remove this content at anytime! Save it as PDF for later use!

Try unrolling a thread yourself!

how to unroll video
  1. Follow @ThreadReaderApp to mention us!

  2. From a Twitter thread mention us with a keyword "unroll"
@threadreaderapp unroll

Practice here first or read more on our help page!

More from @huang_huixian

Nov 20
๒๑พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๐
วันนี้ในอดีต

‘หนังสือแสดงกิจจานุกิจ' ตีพิมพ์สำเร็จเป็นครั้งแรก เป็นหนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์และศาสนาอย่างทันสมัยที่สุด จัดพิมพ์โดยเจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)

"หนังสือแสดงกิจจานุกิจ "ตีพิมพ์สำเร็จเป็นครั้งแรก Image
2. เป็นหนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์และศาสนาอย่างทันสมัยที่สุด จัดพิมพ์โดย เจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เหตุที่ท่านจัดทำหนังสือเล่มนี้ เพราะเห็นว่าตำราไทยสมัยนั้นไม่มีสาระแก่นสาร ไม่ทำให้ผู้อ่านนำไปคิดต่อ ความรู้ในหนังสือไม่ทันสมัย
3. ท่านจึงรวบรวมเอาสิ่งที่ขณะนั้นยังไม่ทราบกันมาตีพิมพ์ นอกจากนี้ท่านยังนำเสนอแก่นของพุทธศาสนาเพื่อเป็นการลบล้างการโจมตีพุทธศาสนาของหมอสอนศาสนาที่พยายามเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย หนังสือเล่มนี้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในหมู่คนไทยและต่างชาติ และมีผู้สนใจนำบางตอนไปแปล
Read 5 tweets
Nov 20
🗓 21 NOVEMBER 1877 🗓
หรือวันนี้เมื่อ 145 ที่แล้ว
‘ โทมัส เอดิสัน ประกาศผลงานสิ่งประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียง '

📄 ทอมัส แอลวา เอดิสัน (อังกฤษ: Thomas Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก" Image
2.เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำหลักการของ การผลิตจำนวนมาก และกระบวนการประดิษฐ์ มาประยุกต์รวมกัน

ทอมัส เอดิสัน มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้คิดค้นหลอดไฟ แต่ในความเป็นจริงเขาเป็นบุคคลแรกที่จดสิทธิบัตรในการประดิษฐ์หลอดไฟจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 20 คนที่คิดค้นหลอดไฟและสามารถนำมาทำเป็นธุรกิจได้
3. เอดิสันยังคงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric) บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ของโลก และก่อตั้งอีกหลายบริษัทในด้านไฟฟ้า หนึ่งในบริษัทของเอดิสันยังเป็นผู้คิดค้นเก้าอี้ไฟฟ้าสำหรับประหารชีวิตนักโทษอีกด้วย Image
Read 5 tweets
Nov 20
โทรทัศน์ในอดีต เปรียบเหมือนสมาชิกในครอบครัวคนหนึ่ง เพราะนอกจากการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแล้วยังมอบความสนุกและความบันเทิงให้ตลอดวันจนไม่ทำให้รู้สึกเบื่อเลย
และชีวิตในวัยเด็กจะมีอะไรที่มีเป็นความสุขได้มากกว่าการตื่นเช้ามาดูรายการโทรทัศน์ในวันเสาร์ - อาทิตย์ Image
2. และฉันจะได้ยินเสียง “อรุณเบิกฟ้า นกกาโบยบิน ออกหากินร่าเริงแจ่มใส เราเบิกบานรีบมาเร็วไว ยิ้มรับวันใหม่ยิ้มให้แก่กัน” จากรายการโทรทัศน์ช่องเจ็ดสีทีวีเพื่อคุณ

วันที่ 21 พฤศจิกายน องค์กรสหประชาชาติ กำหนดให้เป็น "วันโทรทัศน์โลก" โดยความสำคัญของวันนี้เกิดจากการประชุม
3. World Television Forum ที่สหประชาชาติเมื่อปี 1996 ที่ต้องการให้ผู้คนตะหนักรู้ในความสำคัญ และบทบาทของทีวี ที่เคยมีคุณประโยชน์ต่อโลกมาหลายช่วงยุคสมัยในการเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งโทรทัศน์ถือเป็นสิ่งเข้ามามีอิทธิพลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความคิด
Read 4 tweets
Nov 20
“...คนไทยที่ไม่รู้จักรักชาติของตน อย่าเผลอไปว่าชาวยุโรปเขาจะนับถือ มีแต่เขาจะดูถูกเท่านั้น...”
=====================
“...คนเราในสมัยนี้ พอใจอวดอยู่ว่าตนดีกว่าคนไทยเก่า ๆ ไม่ใช่หรือ ก็คนไทยเก่า ๆ เขามีหน้าที่จะทำเพื่อประโยชน์ของชาติบ้านเมืองทุกคน คนไทยชั้นใหม่จะไม่สมัครใจทำหน้าที่ Image
2. เช่นนั้นบ้าง จะว่าตนดีกว่าเขาอย่างไร

ข้อเสียของคนไทยชั้นใหม่ที่มีอยู่ที่สำคัญคือ สิ่งใดเป็นของเก่าจะทิ้งเสียให้หมด แต่ของใหม่ก็ไม่มีมาแทน ได้ยินฝรั่งเขาพูดอะไรได้ยินแว่วๆ ฟังไม่ศัพท์ก็จับเอามากระเดียด เขาพูดก็พูดไปบ้างอย่างนั้นเอง
3. การที่ประพฤติตนตามอย่างฝรั่งนั้น ถ้าประพฤติตามในทางที่ดี ก็ไม่น่าติเตียน ที่เลือกประพฤติในทางที่จะสะดวกแก่ตนอย่างเดียว ที่จะไม่สะดวกก็ไม่เก็บมาประพฤติตามบ้าง ฝรั่งเขารักชาติบ้านเมืองของเขา ทำไมเราไม่รักบ้าง จึงไปรักไปนิยมชาติอื่นภาษาอื่นของเขาทำไม Image
Read 6 tweets
Nov 20
โครงการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำห้วยบ่อแก บ้านปลาอีด ต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

พระราชดำริในพระองค์ : พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร

ความเป็นมา
มีพระราชดำริเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553 ตามที่สำนักราชเลขาธิการขอให้สำนักงาน กปร. พิจารณา Image
2. เรื่อง อบต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ขอพระราชทานโครงการก่อสร้างฝายทดน้ำลำเซบาย บริเวณหมู่ที่ 3 ตำบลนาแก ซึ่งสำนักงาน กปร.แจ้งว่าเห็นสมควรช่วยเหลือโดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ บริเวณบ้านปลาอีด ต.นาแก เพื่อสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยบ่อแก
3. พร้อมปรับปรุงอ่างเก็บน้ำ ดังกล่าว ความละเอียดแจ้งอยู่แล้วนั้น ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอ่องธุรีพระบาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการก่อสร้าง เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำและช่วยส่งเสริมการเกษตรกรรมในฤดูแล้งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำห้วยบ่อแก โดยการขุดลอกดินบริเวณหน้าอ่างเก็บน้ำ Image
Read 7 tweets
Nov 20
โครงการอ่างเก็บน้ําคลองท่างิ้ว หมู่ที่ 1 บ้านท่างิ้ว ต.ท่างิ้ว อ.ห้วยยอด จ.ตรัง

พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

ความเป็นมาของโครงการ :
ราษฎร ต.ท่างิ้ว ต.หนองช้างแล่น และ ต.ห้วยนาง ได้มีหนังสือของพระราชทานสร้างอ่างเก็บน้ำและระบบส่งน้ำ Image
2. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2532 ต่อมาสํานักราชเลขาธิการได้มีหนังสือที่ รล 0005/3231 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2533 แจ้งกรม ฯ ว่าได้นําความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้วไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
3. ที่ตั้งของโครงการ :
หัวเขื่อนคลองท่างิ้ว ตั้งอยู่บนคลองท่างิ้ว ในเขต ต.คลองท่างิ้ว อ.ห้วยยอด จ.ตรัง

ระยะเวลาก่อสร้าง 7 ปี (2537 – 2543) ขนาดความจุ 18.50 ล้านลูกบาศก์เมตร

วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ ต้นน้ำบริเวณหุบเขาควนหินแก้ว เหนือน้ำตกหลาด่าน Image
Read 11 tweets

Did Thread Reader help you today?

Support us! We are indie developers!


This site is made by just two indie developers on a laptop doing marketing, support and development! Read more about the story.

Become a Premium Member ($3/month or $30/year) and get exclusive features!

Become Premium

Don't want to be a Premium member but still want to support us?

Make a small donation by buying us coffee ($5) or help with server cost ($10)

Donate via Paypal

Or Donate anonymously using crypto!

Ethereum

0xfe58350B80634f60Fa6Dc149a72b4DFbc17D341E copy

Bitcoin

3ATGMxNzCUFzxpMCHL5sWSt4DVtS8UqXpi copy

Thank you for your support!

Follow Us on Twitter!

:(