ภาพประวัติศาสตร์ ณ บึงบัวบากง โดย เรารักพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
"ภาพประวัติศาสตร์ ณ บึงบัวบากง"
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงล่องเรือ ในพระหัตถ์มีแผนที่ ในพระหัตถ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงมีสมุดจดหนึ่งเล่มเสมอ
2. “ลุงๆ ไปพายเรือให้ในหลวงต๊ะ พระองค์ท่านจะเสด็จลงเรือชมบึงบากง”
‘ลุงนุช’ ฝีพายในหลวง-ราชินี ประพาส ‘บึงบัวบากง’ นราธิวาส จนกลายเป็นหนึ่งใน ‘ภาพประวัติศาสตร์’ ของปวงชนชาวไทย
ผู้ใหญ่สุดใจ แสงมณี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ บ้านบากง ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
3. เดินทางมาเรียกนายนุช อนันตรานนท์ ขณะกำลังก่อสร้างบ้านอยู่ใกล้กับแยกทางหลวงสายรือเสาะ-ศรีสาคร ซึ่งจากจุดแยกนี้เข้าไปเพียงประมาณ ๒๐๐ เมตร ก็จะถึงบริเวณของหนองบัวบากง
นายนุช อนันตรานนท์ ราษฎรบ้านบากง ซึ่งมีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ละจากงานหันมามองหน้าผู้พูดด้วยไม่แน่ใจว่า
4. ผู้ใหญ่ใจพูดจริงหรือไม่ หรือว่าตัวเองหูฝาดไปเอง จึงถามผู้ใหญ่ใจเพื่อความแน่ใจอีกครั้ง
ผู้ใหญ่ใจจึงกล่าวซ้ำ
“ไปพายเรือให้ในหลวงประทับ พระองค์ท่านต้องการชมบรรยากาศในบึง ให้คนอื่นพายเดี๋ยวพายกันเขลอะๆ เรือล่มแล้วจะแย่กันไปหมด”
5. หลังจากใช้เวลาสนทนาสอบถามรายละเอียดต่างๆ จนเข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว นายนุช มองหน้าผู้ใหญ่ใจอีกครั้ง
ละมือจากงานทั้งหมด พร้อมกับค่อยๆ ยืนขึ้นแหงนหน้ามองท้องฟ้าที่สดใสไร้เมฆหมอก แล้วขยับเสื้อผ้าให้เรียบร้อย พร้อมกับเริ่มเดินออกไปข้างหน้าด้วยใจมุ่งมั่น…
6. เป็นที่รับทราบกันว่าในบรรดาชาวบ้านในบ้านบากงนั้น ฝีมือการพายเรือไม่ว่าจะเป็นเรือประเภทใด คงไม่มีใครจะพายได้ชำนาญเท่านายนุช เพราะตลอดชีวิตล้วนผูกพันกับสายน้ำอย่างแนบแน่น โดยเฉพาะพื้นที่กว่า ๑๕๐ ไร่ในหนองน้ำธรรมชาติรูปวงรีที่มีน้ำขังตลอดปี
และชาวบ้านเรียกกันแต่โบร่ำโบราณมาว่า
7. “พรุบากง” เพราะพื้นที่มีลักษณะเหมือนที่พรุโต๊ะแดง ก่อนจะมาเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “หนองบัวบากง” ในภายหลัง เป็นพื้นที่ที่นายนุชผูกพันมาตั้งแต่สมัยเยาว์วัยเป็นวัยรุ่นกระทง ออกหาปูหาปลา หาพืชผักมาเป็นอาหารของครอบครัว กระทั่งอายุลุล่วงได้ ๖๖ ปี
8. ก่อนหน้านี้นายนุช มีอาชีพเป็นคนคัดท้ายเรือบรรทุกข้าวสารที่เด่นขึ้นล่องจากนครศรีธรรมราช-กรุงเทพมหานคร อยู่หลายปี จนฝีมือในการพายเรือและคัดท้ายเรือนั้นว่ากันว่าเป็นที่เลื่องลือนัก ก่อนจะตัดสินใจย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านบากง
กระทั่งวันที่ผู้ใหญ่ใจเดินทางมาบอก
9. ภารกิจอันยิ่งใหญ่ของชีวิต ที่ไม่คาดคิดว่าตัวเองมีโชควาสนาและโอกาสสูงสุดในชีวิตที่จะได้พายเรือให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับเพื่อชมทัศนียภาพในบึงบากง
เหตุการณ์วันนั้นเกิดเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๒๗ ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
10. และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จมาเยี่ยมราษฎรที่หนองบัวบากง
ขณะเดินไปยังจุดหมายที่บึงบากง นายนุชดีใจจนบอกไม่ถูก มีอาการตื่นเต้นพอควร ในความทรงจำที่จดจำได้ไม่ลืมเลือน คือขณะค่อยๆ เดินเข้าใกล้พระองค์ท่าน ได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกำลังทอดพระเนตรแผนที่ ก่อนลงเรือ
11. หลังจากทอดพระเนตรแผนที่เสร็จแล้ว
ยังแว่วได้ยินเสียงสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงทูลขอกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ขอตามเสด็จลงเรือเพื่อชมบึงบากงด้วย
เพียงไม่นานต่อมา เรือลำน้อยก็ลอยล่องอยู่กลางบึงบัวโดยมีผู้โดยสารที่เป็นที่เทิดทูนของคนไทยทั้งชาติ ๒ พระองค์
12. ทรงประทับอยู่ในลำเรือ ส่วนผู้พายเรืออยู่ตรงท้ายคนเดียวเป็นชายชาวบ้านสูงอายุ ผมสีดอกเลา ใบหน้าอิ่มเอิบ
เรือน้อยค่อยๆ ลอยล่องตามแรงพายของฝีพายผู้ชำนาญการ ผ่านกอกก กอหญ้า และทอดตัวอยู่เบื้องหน้าแทบจะตลอดรายทางคือกลุ่มบัวหลวงดอกใหญ่อาบสีชมพูที่แทงดอกบานสะพรั่งเหนือผิวน้ำใส
13. ตัดกับเขียวใบบัวที่แผ่ใบห่มคลุมเหนือผิวน้ำเป็นวงๆ โดยมีฉากเบื้องหลังคือฟากฟ้าและทิวเขาที่ทอดตัวนิ่งสงบ
นุช อนันตรานนท์ รำลึกความหลังในคราครั้งนั้น ว่า ขณะพายเรือล่องไปในลำน้ำ พระองค์ท่านตรัสถามหลายเรื่องๆ ไม่ว่าเรื่องอายุ เรื่องครอบครัว หรือความเป็นอยู่ของชาวบ้านในแถบนี้
14. “พระองค์ท่านถามถึงอายุอานามผม ถามว่าอายุเท่าไหร่แล้ว พอผมบอกอายุ พระองค์ท่านก็บอกว่าแก่กว่าผม ๑๐ ปี หลังจากนั้นพระองค์ท่านก็ถามผมเกี่ยวกับต้นไม้พรรณไม้ในบึงบากงที่ผ่านไปทอดพระเนตรเห็น
ถามหมดทุกอย่าง เช่น ทรงถามว่าหญ้าในบึงนี้เป็นหญ้าอะไร ต้นไม้แต่ละต้นเรียกว่าอะไรบ้าง
15. พอผมอธิบายต้มไม้อะไรต่อมิอะไร บอกท่านหมด
ท่านก็ตรัสว่า ดี รู้จักพรรณไม้มาก เวลาพูดกับพระองค์ท่านผมก็พูดธรรมดาอย่างนี้ ผมพูดใต้ ท่านฟังออกบอกให้พูดไปเถอะ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็ทรงตรัสว่าพูดอะไรก็พูดไปเถอะ พระองค์ท่านฟังออกทั้งนั้น”
ห้วงขณะที่ทั้งสองพระองค์ทรงประทับในเรือนี่เอง
16. ที่ต่อมาได้ปรากฏภาพขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงประทับในเรือ โดยมีนายนุชเป็นฝีพายอยู่ข้างท้ายลำเรือ
โดยผู้ถ่ายภาพก็คือ นายเคลื่อน เล็มมณี ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดนราธิวาส
17. นอกจากนี้ภาพขณะเรือน้อยกำลังกลับเข้าฝั่งหลังจากเสด็จไปทอดพระเนตรบึงบากงเป็นเวลากว่า ๑ ชั่วโมง ได้รับการเผยแพร่เป็นประจำตามสื่อหลากหลายประเภท โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหวในสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ
หลังจากทอดพระเนตรบรรยากาศโดยรอบบึงบากงจนทั่วแล้ว ทรงเสด็จขึ้นจากเรือขึ้นไปยังศาลาหลังเก่า
18. เรียกกันว่า ศาลาเสด็จหนองบัว ซึ่งปัจจุบันถูกรื้อไปหมดแล้ว และมีการก่อสร้าง “ศาลาทรงงานหนองบัวบากง” แทน เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ลักษณะเป็นศาลาอาคารไม้ เสาไม้หลายโอน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดิน ขนาดกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ตั้งโดดเด่นอยู่กลางน้ำ
19. “ตอนนั้นพอผมพายมาถึงใกล้ๆ ฝั่งแล้วพระองค์ท่านขึ้นฝั่งแล้ว เหลือผมนั่งในเรืออยู่เพียงคนเดียว สมเด็จพระนางเจ้าฯ บอกว่า ส่งมือมาๆ แล้วจับมือผมลากขึ้นจากเรือ ตอนอยู่ในวัดก็เหมือนกัน มือข้างขวาของผมจะสั่นอยู่บ่อยๆ พระราชินีเห็นก็เดินมาจับคลำดู แล้วบอกไปให้หมอตรวจรักษา”
20. นั่นเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ นายนุช ได้กระทำหน้าที่สำคัญครั้งสำคัญของชีวิต ถึงขนาดกล่าวด้วยเสียงสั่นเครือว่า
“ความรู้สึกผมที่ได้รับใช้ใกล้ชิดพระองค์ท่าน ผมพูดอะไรไม่ออก รู้สึกดีใจ ตื้นตันใจจนบอกไม่ถูก ในชีวิตหนึ่งที่ได้พายเรือให้พระองค์ท่านประทับรู้สึกว่าเป็นบุญวาสนาสูงสุด
21. สำหรับชีวิตเราแล้ว”
คล้อยหลังอีก ๒ ปีต่อมา คือปี ๒๕๒๙ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จมาที่บ้านบากง พระองค์ได้ทรงถามว่า
“คนไหนที่พายเรือให้ในหลวงประทับ”
ผู้ใหญ่ใจบอกคนนี้พร้อมกับชี้มือมาที่นายนุช พระองค์ท่านก็เลยตรัสว่า
“ไปพายเรือให้ผมประทับอีกซักที”
22. ต่อมาจึงปรากฏภาพถ่ายขณะที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จลงเรือเพื่อชมบรรยากาศในบึงบากง โดยในมือของพระองค์ท่านถือใบพายเรือ
เพื่อช่วยลุงนุชพายเรือเวียนไปรอบบึงด้วย และหลังจากนั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงโปรดเมตตาให้เข้าเฝ้า
และหลังจากนั้นมา
23. ครั้งใดที่พระองค์เสด็จแปรพระราชฐานมาที่ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ พระองค์จะทรงมีพระเมตตาให้เข้าเฝ้าที่ศาลาทรงงาน หรือที่วัดบากง รวมถึงที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์
ด้วยความปลื้มปีติในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
24. ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ต่อมานายนุช ได้ถวายที่ดินที่บ้านบากงจำนวน ๙ ไร่แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ชูศรี อนันตรานนท์ อาจารย์ ๒ ระดับ ๗ โรงเรียนบ้านบือแนนากอ
(ลูกสาวของลุงนุช) บอกเล่าเรื่องราวขณะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดว่า บารมีของพระองค์ท่านสูงส่งมาก
25. เวลาให้เข้าเฝ้าพระองค์ท่านจะถามถึงความเป็นอยู่ของชาวบ้านทั้งหมด ทำให้สัมผัสได้ถึงความห่วงใยที่พระองค์ท่านมีต่อพสกนิกรทุกคน
(๑) คำว่า ‘ต๊ะ’ เป็นภาษาท้องถิ่นภาคใต้ มีความหมายเท่ากับ “ไป…เถอะ”
(๒) คำว่า ‘เขลอะๆ’ เป็นภาษาท้องถิ่นภาคใต้ มีความหมายเท่ากับ “ไม่ได้เรื่องได้ราว”
26. นายนุช อนันตรานนท์ หรือ ลุงนุช ได้เสียชีวิตด้วยโรคชรา ขณะอายุได้ ๙๓ ปี เมื่อคืนวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓
และได้รับการพระราชทานเพลิงศพด้วยค่ะ
27. #Reference
- ขอบคุณที่มา bloggang.com/m/viewdiary.ph…
Share this Scrolly Tale with your friends.
A Scrolly Tale is a new way to read Twitter threads with a more visually immersive experience.
Discover more beautiful Scrolly Tales like this.