HuixianHuang Profile picture
Oct 9, 2022 27 tweets 5 min read Read on X
ภาพประวัติศาสตร์ ณ บึงบัวบากง โดย เรารักพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
"ภาพประวัติศาสตร์ ณ บึงบัวบากง"

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงล่องเรือ ในพระหัตถ์มีแผนที่ ในพระหัตถ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงมีสมุดจดหนึ่งเล่มเสมอ
2. “ลุงๆ ไปพายเรือให้ในหลวงต๊ะ พระองค์ท่านจะเสด็จลงเรือชมบึงบากง”
‘ลุงนุช’ ฝีพายในหลวง-ราชินี ประพาส ‘บึงบัวบากง’ นราธิวาส จนกลายเป็นหนึ่งใน ‘ภาพประวัติศาสตร์’ ของปวงชนชาวไทย

ผู้ใหญ่สุดใจ แสงมณี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ บ้านบากง ต.รือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
3. เดินทางมาเรียกนายนุช อนันตรานนท์ ขณะกำลังก่อสร้างบ้านอยู่ใกล้กับแยกทางหลวงสายรือเสาะ-ศรีสาคร ซึ่งจากจุดแยกนี้เข้าไปเพียงประมาณ ๒๐๐ เมตร ก็จะถึงบริเวณของหนองบัวบากง
นายนุช อนันตรานนท์ ราษฎรบ้านบากง ซึ่งมีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ละจากงานหันมามองหน้าผู้พูดด้วยไม่แน่ใจว่า
4. ผู้ใหญ่ใจพูดจริงหรือไม่ หรือว่าตัวเองหูฝาดไปเอง จึงถามผู้ใหญ่ใจเพื่อความแน่ใจอีกครั้ง

ผู้ใหญ่ใจจึงกล่าวซ้ำ
“ไปพายเรือให้ในหลวงประทับ พระองค์ท่านต้องการชมบรรยากาศในบึง ให้คนอื่นพายเดี๋ยวพายกันเขลอะๆ เรือล่มแล้วจะแย่กันไปหมด”
5. หลังจากใช้เวลาสนทนาสอบถามรายละเอียดต่างๆ จนเข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว นายนุช มองหน้าผู้ใหญ่ใจอีกครั้ง
ละมือจากงานทั้งหมด พร้อมกับค่อยๆ ยืนขึ้นแหงนหน้ามองท้องฟ้าที่สดใสไร้เมฆหมอก แล้วขยับเสื้อผ้าให้เรียบร้อย พร้อมกับเริ่มเดินออกไปข้างหน้าด้วยใจมุ่งมั่น…
6. เป็นที่รับทราบกันว่าในบรรดาชาวบ้านในบ้านบากงนั้น ฝีมือการพายเรือไม่ว่าจะเป็นเรือประเภทใด คงไม่มีใครจะพายได้ชำนาญเท่านายนุช เพราะตลอดชีวิตล้วนผูกพันกับสายน้ำอย่างแนบแน่น โดยเฉพาะพื้นที่กว่า ๑๕๐ ไร่ในหนองน้ำธรรมชาติรูปวงรีที่มีน้ำขังตลอดปี
และชาวบ้านเรียกกันแต่โบร่ำโบราณมาว่า
7. “พรุบากง” เพราะพื้นที่มีลักษณะเหมือนที่พรุโต๊ะแดง ก่อนจะมาเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “หนองบัวบากง” ในภายหลัง เป็นพื้นที่ที่นายนุชผูกพันมาตั้งแต่สมัยเยาว์วัยเป็นวัยรุ่นกระทง ออกหาปูหาปลา หาพืชผักมาเป็นอาหารของครอบครัว กระทั่งอายุลุล่วงได้ ๖๖ ปี
8. ก่อนหน้านี้นายนุช มีอาชีพเป็นคนคัดท้ายเรือบรรทุกข้าวสารที่เด่นขึ้นล่องจากนครศรีธรรมราช-กรุงเทพมหานคร อยู่หลายปี จนฝีมือในการพายเรือและคัดท้ายเรือนั้นว่ากันว่าเป็นที่เลื่องลือนัก ก่อนจะตัดสินใจย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านบากง

กระทั่งวันที่ผู้ใหญ่ใจเดินทางมาบอก
9. ภารกิจอันยิ่งใหญ่ของชีวิต ที่ไม่คาดคิดว่าตัวเองมีโชควาสนาและโอกาสสูงสุดในชีวิตที่จะได้พายเรือให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับเพื่อชมทัศนียภาพในบึงบากง

เหตุการณ์วันนั้นเกิดเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๒๗ ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
10. และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จมาเยี่ยมราษฎรที่หนองบัวบากง
ขณะเดินไปยังจุดหมายที่บึงบากง นายนุชดีใจจนบอกไม่ถูก มีอาการตื่นเต้นพอควร ในความทรงจำที่จดจำได้ไม่ลืมเลือน คือขณะค่อยๆ เดินเข้าใกล้พระองค์ท่าน ได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกำลังทอดพระเนตรแผนที่ ก่อนลงเรือ
11. หลังจากทอดพระเนตรแผนที่เสร็จแล้ว
ยังแว่วได้ยินเสียงสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงทูลขอกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ขอตามเสด็จลงเรือเพื่อชมบึงบากงด้วย

เพียงไม่นานต่อมา เรือลำน้อยก็ลอยล่องอยู่กลางบึงบัวโดยมีผู้โดยสารที่เป็นที่เทิดทูนของคนไทยทั้งชาติ ๒ พระองค์
12. ทรงประทับอยู่ในลำเรือ ส่วนผู้พายเรืออยู่ตรงท้ายคนเดียวเป็นชายชาวบ้านสูงอายุ ผมสีดอกเลา ใบหน้าอิ่มเอิบ

เรือน้อยค่อยๆ ลอยล่องตามแรงพายของฝีพายผู้ชำนาญการ ผ่านกอกก กอหญ้า และทอดตัวอยู่เบื้องหน้าแทบจะตลอดรายทางคือกลุ่มบัวหลวงดอกใหญ่อาบสีชมพูที่แทงดอกบานสะพรั่งเหนือผิวน้ำใส
13. ตัดกับเขียวใบบัวที่แผ่ใบห่มคลุมเหนือผิวน้ำเป็นวงๆ โดยมีฉากเบื้องหลังคือฟากฟ้าและทิวเขาที่ทอดตัวนิ่งสงบ
นุช อนันตรานนท์ รำลึกความหลังในคราครั้งนั้น ว่า ขณะพายเรือล่องไปในลำน้ำ พระองค์ท่านตรัสถามหลายเรื่องๆ ไม่ว่าเรื่องอายุ เรื่องครอบครัว หรือความเป็นอยู่ของชาวบ้านในแถบนี้
14. “พระองค์ท่านถามถึงอายุอานามผม ถามว่าอายุเท่าไหร่แล้ว พอผมบอกอายุ พระองค์ท่านก็บอกว่าแก่กว่าผม ๑๐ ปี หลังจากนั้นพระองค์ท่านก็ถามผมเกี่ยวกับต้นไม้พรรณไม้ในบึงบากงที่ผ่านไปทอดพระเนตรเห็น
ถามหมดทุกอย่าง เช่น ทรงถามว่าหญ้าในบึงนี้เป็นหญ้าอะไร ต้นไม้แต่ละต้นเรียกว่าอะไรบ้าง
15. พอผมอธิบายต้มไม้อะไรต่อมิอะไร บอกท่านหมด
ท่านก็ตรัสว่า ดี รู้จักพรรณไม้มาก เวลาพูดกับพระองค์ท่านผมก็พูดธรรมดาอย่างนี้ ผมพูดใต้ ท่านฟังออกบอกให้พูดไปเถอะ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็ทรงตรัสว่าพูดอะไรก็พูดไปเถอะ พระองค์ท่านฟังออกทั้งนั้น”

ห้วงขณะที่ทั้งสองพระองค์ทรงประทับในเรือนี่เอง
16. ที่ต่อมาได้ปรากฏภาพขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงประทับในเรือ โดยมีนายนุชเป็นฝีพายอยู่ข้างท้ายลำเรือ
โดยผู้ถ่ายภาพก็คือ นายเคลื่อน เล็มมณี ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดนราธิวาส
17. นอกจากนี้ภาพขณะเรือน้อยกำลังกลับเข้าฝั่งหลังจากเสด็จไปทอดพระเนตรบึงบากงเป็นเวลากว่า ๑ ชั่วโมง ได้รับการเผยแพร่เป็นประจำตามสื่อหลากหลายประเภท โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหวในสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ
หลังจากทอดพระเนตรบรรยากาศโดยรอบบึงบากงจนทั่วแล้ว ทรงเสด็จขึ้นจากเรือขึ้นไปยังศาลาหลังเก่า
18. เรียกกันว่า ศาลาเสด็จหนองบัว ซึ่งปัจจุบันถูกรื้อไปหมดแล้ว และมีการก่อสร้าง “ศาลาทรงงานหนองบัวบากง” แทน เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ลักษณะเป็นศาลาอาคารไม้ เสาไม้หลายโอน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดิน ขนาดกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ตั้งโดดเด่นอยู่กลางน้ำ
19. “ตอนนั้นพอผมพายมาถึงใกล้ๆ ฝั่งแล้วพระองค์ท่านขึ้นฝั่งแล้ว เหลือผมนั่งในเรืออยู่เพียงคนเดียว สมเด็จพระนางเจ้าฯ บอกว่า ส่งมือมาๆ แล้วจับมือผมลากขึ้นจากเรือ ตอนอยู่ในวัดก็เหมือนกัน มือข้างขวาของผมจะสั่นอยู่บ่อยๆ พระราชินีเห็นก็เดินมาจับคลำดู แล้วบอกไปให้หมอตรวจรักษา”
20. นั่นเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ นายนุช ได้กระทำหน้าที่สำคัญครั้งสำคัญของชีวิต ถึงขนาดกล่าวด้วยเสียงสั่นเครือว่า

“ความรู้สึกผมที่ได้รับใช้ใกล้ชิดพระองค์ท่าน ผมพูดอะไรไม่ออก รู้สึกดีใจ ตื้นตันใจจนบอกไม่ถูก ในชีวิตหนึ่งที่ได้พายเรือให้พระองค์ท่านประทับรู้สึกว่าเป็นบุญวาสนาสูงสุด
21. สำหรับชีวิตเราแล้ว”

คล้อยหลังอีก ๒ ปีต่อมา คือปี ๒๕๒๙ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จมาที่บ้านบากง พระองค์ได้ทรงถามว่า

“คนไหนที่พายเรือให้ในหลวงประทับ”
ผู้ใหญ่ใจบอกคนนี้พร้อมกับชี้มือมาที่นายนุช พระองค์ท่านก็เลยตรัสว่า
“ไปพายเรือให้ผมประทับอีกซักที”
22. ต่อมาจึงปรากฏภาพถ่ายขณะที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จลงเรือเพื่อชมบรรยากาศในบึงบากง โดยในมือของพระองค์ท่านถือใบพายเรือ
เพื่อช่วยลุงนุชพายเรือเวียนไปรอบบึงด้วย และหลังจากนั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงโปรดเมตตาให้เข้าเฝ้า
และหลังจากนั้นมา
23. ครั้งใดที่พระองค์เสด็จแปรพระราชฐานมาที่ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ พระองค์จะทรงมีพระเมตตาให้เข้าเฝ้าที่ศาลาทรงงาน หรือที่วัดบากง รวมถึงที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์
ด้วยความปลื้มปีติในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
24. ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ต่อมานายนุช ได้ถวายที่ดินที่บ้านบากงจำนวน ๙ ไร่แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ชูศรี อนันตรานนท์ อาจารย์ ๒ ระดับ ๗ โรงเรียนบ้านบือแนนากอ
(ลูกสาวของลุงนุช) บอกเล่าเรื่องราวขณะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดว่า บารมีของพระองค์ท่านสูงส่งมาก
25. เวลาให้เข้าเฝ้าพระองค์ท่านจะถามถึงความเป็นอยู่ของชาวบ้านทั้งหมด ทำให้สัมผัสได้ถึงความห่วงใยที่พระองค์ท่านมีต่อพสกนิกรทุกคน

(๑) คำว่า ‘ต๊ะ’ เป็นภาษาท้องถิ่นภาคใต้ มีความหมายเท่ากับ “ไป…เถอะ”

(๒) คำว่า ‘เขลอะๆ’ เป็นภาษาท้องถิ่นภาคใต้ มีความหมายเท่ากับ “ไม่ได้เรื่องได้ราว”
26. นายนุช อนันตรานนท์ หรือ ลุงนุช ได้เสียชีวิตด้วยโรคชรา ขณะอายุได้ ๙๓ ปี เมื่อคืนวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓
และได้รับการพระราชทานเพลิงศพด้วยค่ะ
27. #Reference
- ขอบคุณที่มา bloggang.com/m/viewdiary.ph…

• • •

Missing some Tweet in this thread? You can try to force a refresh
 

Keep Current with HuixianHuang

HuixianHuang Profile picture

Stay in touch and get notified when new unrolls are available from this author!

Read all threads

This Thread may be Removed Anytime!

PDF

Twitter may remove this content at anytime! Save it as PDF for later use!

Try unrolling a thread yourself!

how to unroll video
  1. Follow @ThreadReaderApp to mention us!

  2. From a Twitter thread mention us with a keyword "unroll"
@threadreaderapp unroll

Practice here first or read more on our help page!

More from @huang_huixian

Nov 20, 2022
๒๑พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๐
วันนี้ในอดีต

‘หนังสือแสดงกิจจานุกิจ' ตีพิมพ์สำเร็จเป็นครั้งแรก เป็นหนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์และศาสนาอย่างทันสมัยที่สุด จัดพิมพ์โดยเจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)

"หนังสือแสดงกิจจานุกิจ "ตีพิมพ์สำเร็จเป็นครั้งแรก Image
2. เป็นหนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์และศาสนาอย่างทันสมัยที่สุด จัดพิมพ์โดย เจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เหตุที่ท่านจัดทำหนังสือเล่มนี้ เพราะเห็นว่าตำราไทยสมัยนั้นไม่มีสาระแก่นสาร ไม่ทำให้ผู้อ่านนำไปคิดต่อ ความรู้ในหนังสือไม่ทันสมัย
3. ท่านจึงรวบรวมเอาสิ่งที่ขณะนั้นยังไม่ทราบกันมาตีพิมพ์ นอกจากนี้ท่านยังนำเสนอแก่นของพุทธศาสนาเพื่อเป็นการลบล้างการโจมตีพุทธศาสนาของหมอสอนศาสนาที่พยายามเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย หนังสือเล่มนี้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในหมู่คนไทยและต่างชาติ และมีผู้สนใจนำบางตอนไปแปล
Read 5 tweets
Nov 20, 2022
🗓 21 NOVEMBER 1877 🗓
หรือวันนี้เมื่อ 145 ที่แล้ว
‘ โทมัส เอดิสัน ประกาศผลงานสิ่งประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียง '

📄 ทอมัส แอลวา เอดิสัน (อังกฤษ: Thomas Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก"
2.เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำหลักการของ การผลิตจำนวนมาก และกระบวนการประดิษฐ์ มาประยุกต์รวมกัน

ทอมัส เอดิสัน มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้คิดค้นหลอดไฟ แต่ในความเป็นจริงเขาเป็นบุคคลแรกที่จดสิทธิบัตรในการประดิษฐ์หลอดไฟจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 20 คนที่คิดค้นหลอดไฟและสามารถนำมาทำเป็นธุรกิจได้
3. เอดิสันยังคงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก (General Electric) บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ของโลก และก่อตั้งอีกหลายบริษัทในด้านไฟฟ้า หนึ่งในบริษัทของเอดิสันยังเป็นผู้คิดค้นเก้าอี้ไฟฟ้าสำหรับประหารชีวิตนักโทษอีกด้วย
Read 5 tweets
Nov 20, 2022
โทรทัศน์ในอดีต เปรียบเหมือนสมาชิกในครอบครัวคนหนึ่ง เพราะนอกจากการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแล้วยังมอบความสนุกและความบันเทิงให้ตลอดวันจนไม่ทำให้รู้สึกเบื่อเลย
และชีวิตในวัยเด็กจะมีอะไรที่มีเป็นความสุขได้มากกว่าการตื่นเช้ามาดูรายการโทรทัศน์ในวันเสาร์ - อาทิตย์
2. และฉันจะได้ยินเสียง “อรุณเบิกฟ้า นกกาโบยบิน ออกหากินร่าเริงแจ่มใส เราเบิกบานรีบมาเร็วไว ยิ้มรับวันใหม่ยิ้มให้แก่กัน” จากรายการโทรทัศน์ช่องเจ็ดสีทีวีเพื่อคุณ

วันที่ 21 พฤศจิกายน องค์กรสหประชาชาติ กำหนดให้เป็น "วันโทรทัศน์โลก" โดยความสำคัญของวันนี้เกิดจากการประชุม
3. World Television Forum ที่สหประชาชาติเมื่อปี 1996 ที่ต้องการให้ผู้คนตะหนักรู้ในความสำคัญ และบทบาทของทีวี ที่เคยมีคุณประโยชน์ต่อโลกมาหลายช่วงยุคสมัยในการเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งโทรทัศน์ถือเป็นสิ่งเข้ามามีอิทธิพลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความคิด
Read 4 tweets
Nov 20, 2022
“...คนไทยที่ไม่รู้จักรักชาติของตน อย่าเผลอไปว่าชาวยุโรปเขาจะนับถือ มีแต่เขาจะดูถูกเท่านั้น...”
=====================
“...คนเราในสมัยนี้ พอใจอวดอยู่ว่าตนดีกว่าคนไทยเก่า ๆ ไม่ใช่หรือ ก็คนไทยเก่า ๆ เขามีหน้าที่จะทำเพื่อประโยชน์ของชาติบ้านเมืองทุกคน คนไทยชั้นใหม่จะไม่สมัครใจทำหน้าที่
2. เช่นนั้นบ้าง จะว่าตนดีกว่าเขาอย่างไร

ข้อเสียของคนไทยชั้นใหม่ที่มีอยู่ที่สำคัญคือ สิ่งใดเป็นของเก่าจะทิ้งเสียให้หมด แต่ของใหม่ก็ไม่มีมาแทน ได้ยินฝรั่งเขาพูดอะไรได้ยินแว่วๆ ฟังไม่ศัพท์ก็จับเอามากระเดียด เขาพูดก็พูดไปบ้างอย่างนั้นเอง
3. การที่ประพฤติตนตามอย่างฝรั่งนั้น ถ้าประพฤติตามในทางที่ดี ก็ไม่น่าติเตียน ที่เลือกประพฤติในทางที่จะสะดวกแก่ตนอย่างเดียว ที่จะไม่สะดวกก็ไม่เก็บมาประพฤติตามบ้าง ฝรั่งเขารักชาติบ้านเมืองของเขา ทำไมเราไม่รักบ้าง จึงไปรักไปนิยมชาติอื่นภาษาอื่นของเขาทำไม
Read 6 tweets
Nov 20, 2022
โครงการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำห้วยบ่อแก บ้านปลาอีด ต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

พระราชดำริในพระองค์ : พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร

ความเป็นมา
มีพระราชดำริเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553 ตามที่สำนักราชเลขาธิการขอให้สำนักงาน กปร. พิจารณา
2. เรื่อง อบต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ขอพระราชทานโครงการก่อสร้างฝายทดน้ำลำเซบาย บริเวณหมู่ที่ 3 ตำบลนาแก ซึ่งสำนักงาน กปร.แจ้งว่าเห็นสมควรช่วยเหลือโดยก่อสร้างสถานีสูบน้ำน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ บริเวณบ้านปลาอีด ต.นาแก เพื่อสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยบ่อแก
3. พร้อมปรับปรุงอ่างเก็บน้ำ ดังกล่าว ความละเอียดแจ้งอยู่แล้วนั้น ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอ่องธุรีพระบาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการก่อสร้าง เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำและช่วยส่งเสริมการเกษตรกรรมในฤดูแล้งปรับปรุงอ่างเก็บน้ำห้วยบ่อแก โดยการขุดลอกดินบริเวณหน้าอ่างเก็บน้ำ
Read 7 tweets
Nov 20, 2022
โครงการอ่างเก็บน้ําคลองท่างิ้ว หมู่ที่ 1 บ้านท่างิ้ว ต.ท่างิ้ว อ.ห้วยยอด จ.ตรัง

พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

ความเป็นมาของโครงการ :
ราษฎร ต.ท่างิ้ว ต.หนองช้างแล่น และ ต.ห้วยนาง ได้มีหนังสือของพระราชทานสร้างอ่างเก็บน้ำและระบบส่งน้ำ
2. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2532 ต่อมาสํานักราชเลขาธิการได้มีหนังสือที่ รล 0005/3231 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2533 แจ้งกรม ฯ ว่าได้นําความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รับโครงการอ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้วไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
3. ที่ตั้งของโครงการ :
หัวเขื่อนคลองท่างิ้ว ตั้งอยู่บนคลองท่างิ้ว ในเขต ต.คลองท่างิ้ว อ.ห้วยยอด จ.ตรัง

ระยะเวลาก่อสร้าง 7 ปี (2537 – 2543) ขนาดความจุ 18.50 ล้านลูกบาศก์เมตร

วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ ต้นน้ำบริเวณหุบเขาควนหินแก้ว เหนือน้ำตกหลาด่าน
Read 11 tweets

Did Thread Reader help you today?

Support us! We are indie developers!


This site is made by just two indie developers on a laptop doing marketing, support and development! Read more about the story.

Become a Premium Member ($3/month or $30/year) and get exclusive features!

Become Premium

Don't want to be a Premium member but still want to support us?

Make a small donation by buying us coffee ($5) or help with server cost ($10)

Donate via Paypal

Or Donate anonymously using crypto!

Ethereum

0xfe58350B80634f60Fa6Dc149a72b4DFbc17D341E copy

Bitcoin

3ATGMxNzCUFzxpMCHL5sWSt4DVtS8UqXpi copy

Thank you for your support!

Follow Us!

:(