HuixianHuang Profile picture
🇹🇭💛 ถ้าชอบอ่านเรื่องยาวๆ คุณมาถูกที่แล้วค่ะ“สรรหามาเล่า”แสดงความเห็น หยาบคาย จาบจ้วง กูๆมึงๆ บล๊อกทันที (เช็คก่อนฟอล) สนับสนุน ม.112. ไม่คุยกับกีบทุกกรณี

Nov 18, 2022, 17 tweets

วันแรงงานในเกาหลี
มีที่มาที่แสนรันทดจริงๆ

กว่าเกาหลีใต้จะบังคับใช้กฎหมายแรงงานอย่างวันนี้ได้ ต้องขอบคุณ 'ชอนแทอิล' วีรบุรุษแรงงานเกาหลี ที่พลีชีพโดยการจุดไฟเผาตัวตาย เพื่อเรียกร้องสิทธิ์พื้นฐานของแรงงาน

2. ชอนแทอิลเกิดเมื่อค.ศ.1948 ที่เมืองแทกู แต่พอเกิดสงครามเกาหลีเหนือใต้ ครอบครัวเขาย้ายมาที่เมืองพูซาน

เขามีโอกาสเรียนจบแค่ป.4 เพราะพ่อมีหนี้ที่เกิดจากธุรกิจที่ถูกโกง
เขาจึงลาออกจากโรงเรียนมาช่วยครอบครัวหาเงินโดยเริ่มจากเอาของมาขาย

ภาพจากภาพยนตร์เกี่ยวกับชอนแทอิล

3. ตอนอายุ 17 ปี เขาไปสมัครงานที่โรงงานตัดเย็บผ้าในตลาดพยองฮวา (Pyounghwa Market) แถวทงแดมุน

ช่วงนั้นเกาหลีใต้กำลังพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจหรือโรงงานขนาดเล็กเกิดขึ้นมาก

4. ขณะนั้นชอนแทอิลมีตำแหน่งเป็นถึงหัวหน้าของโรงงานตัดเย็บผ้า แต่เขาเห็นความทรมานที่เพื่อนร่วมงานต้องประสบแล้วรู้สึกรับไม่ได้
🐜 คนงานบางคนเป็นเด็กอายุ 13~17 ปี
🐜 ทำงานนานต่อเนื่อง เพื่อแลกกับค่าแรงน้อยนิด
🐜 ทำงานทุกวัน ไม่มีวันหยุด

(สุสานของชอนแทอิล)

5. 🐜 ทำงานวันหนึ่งไม่ต่ำกว่า 14 ชั่วโมง
🐜 คนงานต้องทำงานกันอย่างเบียดเสียดภายใต้พื้นที่เล็ก ๆ ของโรงงาน
🐜 อากาศที่ไม่ถ่ายเท

มีอยู่วันหนึ่ง เพื่อนร่วมงานหญิงถูกไล่ออก เนื่องจากปอดมีปัญหา

(คุณแม่ของชอนแทอิล)

6. เขาจึงตระหนักว่าต่อให้เขาขยันทำงานแค่ไหน ถ้าวันใดเขาหมดประโยชน์ก็คงโดนไล่ออกอยู่ดี

ค.ศ.1968 เขาได้อ่านหนังสือ 'กฎหมายพื้นฐานแรงงาน' ทำให้เขาพบว่าที่ผ่านมาเขาโดนเอาเปรียบมาตลอด

(จุดที่ชอนแทอิลจุดไฟเผาตัวเอง)

7.ค.ศ.1969 เขาจึงก่อตั้ง 'กลุ่มบาโบ หรือ 바보회' แปลตรงตัว คือ กลุ่มคนงี่เง่า เพราะที่ผ่านมามีกฎหมายพื้นฐานแรงงาน แต่พวกเราแรงงานซื่อบื้อที่ไม่รู้จักมัน

ในกฎหมายพื้นฐานแรงงานขณะนั้นระบุว่า "ทำงานวันละ 8 ชม. และเจ้านายต้องให้ลูกน้องหยุดงานอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์"

(ตลาดพยองฮวา)

8. เขาจึงเอากฎหมายเหล่านี้ไปบอกเพื่อนร่วมงาน พอเรื่องนี้รู้ไปถึงหูของเจ้าของธุรกิจในตลาดพยองฮวา เขาก็ถูกไล่ออก และไม่มีที่ไหนในตลาดพยองฮวารับเขาเข้าทำงานเลย เขาจึงต้องย้ายไปทำงานที่โรงงานอื่น

(พิพิธภัณฑ์ชอนแทอิล
หน้าตึกเป็นภาพลายมือเขียนของชอนแทอิล)

9. กันยายน ค.ศ.1970 เขากลับมาที่ตลาดพยองฮวาอีก แล้วก่อตั้งกลุ่มซัมดงขึ้นมา เพื่อกระจายข่าวสารแรงงานและเรียกร้องสิทธิที่แรงงานควรจะได้ แต่ผู้ประกอบการ เจ้าของโรงงานไม่มีใครสนใจเขา

13 พฤศจิกายน 1970 เขาและพรรคพวกจึงรวมตัวประท้วงที่ตลาดพยองฮวา

(จำลองการทำงานของชอนแทอิลสมัยนั้น)

10. แต่ตำรวจก็มาปราบปรามการชุมนุม
เขาพยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อเรียกร้องสิทธิ์ แต่ไม่มีใครเข้าใจ แม้กระทั่งตำรวจก็ยังมาห้าม
🔥 เขาจึงตัดสินใจจุดไฟเผาหนังสือเล่มนี้ไปพร้อม ๆ กับตัวเขา 🔥
ขณะที่ร่างกำลังถูกเผา เขาตะโกนว่า 'โปรดทำตามกฎหมายแรงงาน เราไม่ใช่เครื่องจักร!'

11. อย่างน้อยการพลีชีพของเขาก็มีค่า แรงงานเริ่มตระหนักในสิทธิ์ที่ตัวเองควรได้ และคนเริ่มสนใจเกี่ยวกับกฎหมายพื้นฐานแรงงานมากขึ้น

มีแบบสำรวจสอบถามผู้ใช้แรงงานช่วงนั้น พบว่า
🐝 ทำงานทั้งเดือนได้แค่ 3,000 วอน ซึ่งกาแฟช่วงนั้นแก้วละ 50 วอน เท่ากับว่าซื้อกาแฟได้ 60 แก้ว

12. 🐝 หนึ่งเดือนได้พักแค่ 2 วัน
🐝 ทำงานตั้งแต่ 7:00~22:00 น. ทั้งที่ตอนสัมภาษณ์งานบอกว่าทำงาน 9:00~18:00 น.

📝ที่ผ่านมา แม้เขาจะทำงานหนักยิ่งกว่าเครื่องจักร แต่เขาก็ยังเขียนบันทึกไดอารี่ ตอนหนึ่งของไดอารี่ 'ชอนแทอิล' เขียนว่า
ทุกวันตั้งแต่ 8:00 ~ 23:00 น.

13. ต้องตัดเย็บผ้าตลอด 15 ชั่วโมง ทรมานเหลือเกิน!
ปวดเอว ฝ่ามือมีเลือดซิบ ๆ ทั้งมือกับขาที่ไม่ได้พักเจ็บจนอยากตาย

แม้จะผ่านมาเกือบ 50 ปีแล้ว โปรดอย่าลืมชอนแทอิล วีรบุรุษแรงงาน และขอขอบคุณผู้ใช้แรงงานทุกคน ผู้อยู่เบื้องหลังพัฒนาการทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ 👏👏👏

14. ปี 1995 สร้างภาพยนตร์เกาหลีเกี่ยวกับนายชอนแทอิล ชื่อ 아름다운청년전태일


ปัจจุบันมีรูปปั้นชอนแทอิล ตั้งอยู่แถวตลาดทงแดมุน
ที่ตั้ง : 서울 종로구 종로5가
รถไฟใต้ดินสาย 1,4 สถานีทงแดมุน (동대문역) ประตูทางออก 8 เดินเท้าต่ออีก 5 นาที

15. ปี 2019 ตั้งพิพิธภัณฑ์ชอนแทอิล เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา และบอกเล่าการเรียกร้องสิทธิของแรงงานเกาหลีในอดีต
ที่ตั้ง : 관수동 152-1
รถไฟใต้ดินสาย 2,3 สถานีอึลจีโร3กา (을지로3가역) ประตูทางออก 2 เดินเท้าต่ออีก 5 นาที
taeil.org

16. #Reference
- เอะอะก็เกาหลี ; facebook.com/gurukorea/?mib…

ทุกประเทศมักมีที่มาของวันแรงงานที่เจ็บปวดจริงๆ

Share this Scrolly Tale with your friends.

A Scrolly Tale is a new way to read Twitter threads with a more visually immersive experience.
Discover more beautiful Scrolly Tales like this.

Keep scrolling