หนังสือ ขุนศึกศักดินาพญาอินทรี ถูกฝ่ายอนุรักษนิยมฟ้องเป็นเงิน 50 ล้าน วิทยานิพนธ์ อ.ณัฐพลถูกถอดถอน เพราหนังสือเหตุใดเล่มนี้จึงถูกฟ้องและถอดถอน ฝ่ายอนุรักษนิยมต้องการจะปกปิดอะไรในหนังสือเล่มนี้ ? ผมจะสรุปเนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้เบื้องต้น ตามอ่านได้เลยครับ #ม็อบ9มีนา #ฟ้าเดียวกัน ImageImage
บทที่1 กราวพากย์
(1.1)อาจารย์ณัฐพล ใจจริง ในบทที่1 ได้ชี้ให้เห็นถึงวาทกรรมว่าชาติไทยไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใด แต่แท้จริงแล้วประเทศไทยตกเป็นอาณานิคมอำพรางของชาติตะวันตกทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส ในสมัยล่าอาณานิคม Image
(1.2)และในยุคหลังสงครามโลก แม้รัฐบาล จอมพลป. จะเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะคือญี่ปุ่นทำให้ไทยตกอยู่ในสถานภาพแพ้สงครามไปด้วย และเหตุใดที่ไม่อยู่ในสถานสภาพแพ้สงครามก็ด้วยความร่วมมือของกลุ่มเสรีไทยซึ่งคือกลุ่มปรีดี พนมยงค์ และกลุ่มศักดินา พร้อมด้วยการช่วยเหลือไม่ให้ไทยตกอยู่ในสถานภาพแพ้WW2
บทที่ 2 จากสันตภาพสู่ความขัดแย้ง การเมืองไทยภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
(2.1)ในช่วงสงครามเย็นเป็นการช่วงชิงการครองเป็นมหาอำนาจ ขับเคี่ยวกันระหว่างอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ของโซเวียตและประเทศจีน กับ อุดมการณ์ประชาธิปไตยทุนนิยมของสหรัฐและประเทศพันธมิตร Image
(2.2) เมื่อการขับเคี่ยวกันระหว่างสหรัฐและโซเวียตดุเดือดมากขึ้น จึงส่งผลถึงนโยบายต่างประเทศที่ต้องการขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยเหมาะสมที่จะเป็นฐานการขยายอิทธิพลของสหรัฐ
บทที่ 3 รัฐประหาร 2490
(3.1) จอมพล ป. นายกในสมัยสงครามโลก ที่จับมือกับญี่ปุ่นหลุดร่วงจากอำนาจเนื่องจากเป็นผู้แพ้สงคราม จอมพล ป.ต้องการกลับเข้าสู่อำนาจอีกครั้ง ซึ่งทำให้เกิด “พันธมิตรใหม่ จับมือกันระหว่าง กลุ่มกองทัพของจองพล ป.พิบูลสงคราม กับ กลุ่มศักดินา(พวกกษัตริย์นิยม) Image
(3.2) กลุ่มกษัตริย์นิยมต้องการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองจาก รัฐบาลถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (กลุ่มปรีดี ) แต่ไม่มีกองกำลังทหารจึงต้องการจับมือกับ จอมพล ปส่วน จอมพล ป.มีกองทัพแต่ไม่มีความชอบธรรมทางการเมืองจึงต้องการจับมือกับกลุ่มกษัตริย์นิยมเพื่ออาศัยความชอบธรรมทางการเมืองจากพวกนิยมเจ้า
(3.3)การรัฐประหาร วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ถือได้ว่าเป็นการปิดฉากอำนาจที่อยู่ในมือของคณะราษฎร และเปิดทางการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างคณะรัฐประหาร(กลุ่มจอมพล ป.) และ กลุ่มศักดินา (พวกกษัตริย์นิยม) ที่ความขัดแย้งจะก่อตัวขึ้นในอนาคต
(3.4)การรัฐประหารพฤศจิกายน2490 โค่นล้มกลุ่มปรีดี ครั้งนี้เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งต่อบทบาทของสหรัฐที่อิทธิพลต่อการเมืองไทย เพราะสหรัฐได้แสดงท่าทีไม่ให้กล้าสนับสนุน นายปรีดีพันธมิตรเก่าในช่วงเสรีไทยกลับเข้าสู่อำนาจอีกครั้ง
(3.5)เนื่องจากก่อนการรัฐประหาร 1 เดือน ในเดือนกันยา 2490 กลุ่มปรีดีแสดงความคาดหวังต่อโฮจิมินห์ว่าจะนำการปลดแอกในอินโดนีเซียสำเร็จ ซึ่งในรางานบันทึกของCIA ได้วิจารณ์ว่ากลุ่มปรีดีเป็นพวกไร้จิตสำนึกที่มองไม่เห็นว่าโฮจิมินห์เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งขัดต่อนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของสหรัฐ
บททที่ 4 สู่ภาวะกึ่งอาณานิคมในยุคสงครามเย็น การหันเข้าหาสหรัฐอเมริกากับการปราบปรามศัตรูทางการเมือง Image
(4.1)หลังการรัฐประหาร2490 คณะรัฐประหารจำเป็นต้องสร้างความชอบธรรมโดยการสนับสนุนกลุ่มศักดินาขึ้นสู่อำนาจ โดยกลุ่มศักดินารุกคืบสร้างอำนาจทางการเมืองให้กับกลุ่มตนทันที่ผ่านการร่าง รธน.2492 ที่เพิ่มอำนาจทางการเมืองให้กับสถาบันกษัตริย์และกีดกั้นคณะรัฐประหารของ จอมพล ป.ออกไปจากการเมือง
(4.2) โดยรธน.2492 ปรากฏคำว่า “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”เป็นครั้งแรก นอกจากนั้น รัฐบาลของกลุ่มศักดินายังได้ใช้อำนาจออกกฎหมายคืนทรัพย์สินแก่พระมหากษัตริย์ หลังจากที่หน่วยงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เคยถูกคณะราษฎรโอนมาเป็นของรัฐบาลหลังการปฏิวัติ2475
บทที่ 5 ถนนทุกสายมุ่งสู่สหรัฐ การสร้างความแข็งแกร่งให้กลุ่มทหารและกลุ่มตำรวจ
(5.1)สหรัฐมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่เข้มข้นมากขึ้นหลังการรัฐประหาร 2490 สหรัฐมีบทบาทในการสนับสนุนกลุ่มทหาร ของพลเอก สฤษดิ์ และ กลุ่มตำรวจของ พลต.อ. เผ่า อย่างมากในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในไทยดังนี้ Image
(5.2)การสนับสนุนจากเพตากอนให้กับทหารไทย
เมษา 2497 กราฟส์ บี. เออร์สกิน ผู้ช่วยปลัดกลาโหม เรียกร้องให้CIAขยายปฏิบัติการลับในไทยมากขึ้น โดยUS จะให้การสนับสนุนทางการทหาร รวมถึงให้ความสำคัญกับการโฆษณษชวนเชื่อในการต่อต้านคอมมิวนิสต์และปฏิบัติการลับทางทหารไทยในประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
(5.3)การสนับสนุนจากCIAให้กับกลุ่มตำรวจ
สาเหตุที่USให้การสนับสนุนกลุ่มตำรวจเนื่องจากสนธิสัญญา มีข้อตกลงว่ามีห้ามมีทหารตามชายแดน CIA จึงเห็นว่าตำรวจ สามารถปฏิบัติงานแทนทหารได้จึงปรับปรุงกำลังตำรวจด้วยการผลักดันให้จัดตั้งหน่อยงานใหม่ขึ้นเช่นตำรวจตระเวนชายแดนเพื่อดูและชายแดนแทนทหาร
บทที่ 6 สหรัฐกับแผนสงครามจิตวิทยาต่อต้านคอมมิวนิสต์
(6.1)การดำเนินการแผนสงครามจิตวิทยาในไทยของสหรัฐมีวัตถุประสงค์ที่จะครอบงำการรับรู้ของคนไทยในเขตชนบทจนถึงระดับหมูบ้าน ด้วยการสร้างภาพภัยจากคอมมิวนิสต์ที่จะคุกคามสถาบันกษัตริย์ อย่างไรก็ตามความประสงค์ของสหรัฐไม่สำเร็จนัก Image
(6.2)ที่จะทำให้คนไทยเห็นถึงภัยคอมมิวนิสต์คุกคามสถาบันกษัตริย์ เนื่องจากรัฐบาล จอมพล ป.มิได้ดำเนินนโยบายที่ให้ความสำคัญกับสถาบันกษัตริย์มากเท่าที่ควร เห็นจากผลสำรวจการรับรู้ของคนไทยในภาคอีสาน ปี 2497ของสหรัฐ ปรากฏว่าคนไทยในภาคอีสานไม่รู้ถึงความหมายของสถาบันกษัตริย์ถึง 61%
บทที่ 7 ถอยห่างจากสหรัฐ นโยบายเป็นกลางและการเปิดประตูสู่ประชาธิปไตยในฐานะทางออกใหม่ ของจอมพล ป.
(7.1)รัฐบาลจอมพล ป.ดำเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของสหรัฐมาได้สักระยะ รัฐบาลเริ่มลังเลในการอยู่ฝ่ายสหรัฐ เป็นผลมาจากการยุติการยิงในสงครามเกาหลีและความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสต่อเวียดมินห์ Image
(7.2)รัฐบาลจึงหันไปเปิดสัมพันธไมตรีต่อจีน ได้คลายเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลเป็นหุ่นเชิดของสหรัฐ รัฐบาลส่งคนไปประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด อีกทั้งรัฐบาลยังเปิดให้มีการไฮค์ปาร์คที่สนามหลวงให้ประชาชนสามารถมาพูดถึงปัญหาความเดือดร้อนได้เพื่อแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชน
(7.3)แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ในการปราศรัยมักมุ่งเป้าโจมตีที่ พลเอก เผ่า ที่มีปัญหาการคอรัปชั่น และพาดพิงไปถึงการที่สหรัฐให้การสนับสนุนกลุ่มตำรวจของ พลเอก เผ่า จึงมีเนื้อหากล่าวโจมตีต่อต้านสหรัฐอย่างหนักหน่วง
(7.4)การที่รัฐบาลเปิดสัมพันธไมตรีกับประเทศคอมมิวนิสต์อย่างประเทศจีนและเปิดให้มีเวทีปราศัยโจมตีสหรัฐ ทำให้สหรัฐไม่พอใจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม อย่างมาก
บทที่ 8 ยามเมื่อลดพัดหวน ความพยายามหวนคืนของมิตรเก่า “จอมพล ป.-ปรีดี”
(8.1)เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลค่อนข้างแย่เนื่องจากความขัดแย้งภายในรัฐบาลชุดนี้คือคณะตำรวจของ พลเอก เผ่า และ คณะทหารของ จอมพลสฤษดิ์ ดังนั้นเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับจอมพล ป. Image
(8.2)แม้จอมพล ป. จะมียศถึงจอมพล ถึงเขาไม่ได้มีกองกำลังทหารอยู่ในมือ เสถียรภาพทางการเมืองขึ้นจึงอยู่กับกลุ่มขุนศึก คือกลุ่มทหารของสฤษดิ์ และกลุ่มตำรวจของเผ่า ที่ขุนศึกทั้งสองกันต่างช่วงชิงอำนาจระหว่างกันผ่านการสนับสนุนจากสหรัฐ ทั้งกลุ่มทหารและตำรวจได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐทั้งคู่
(8.3)แต่การเดินหมากอย่างแยบยลของสฤษดิ์ที่ทำกลุ่มทหารเหนือกว่ากลุ่มตำรวจไปอีก1ก้าว คือการที่เลือกจับมือกับกลุ่มศักดินา เหตุผลกลุ่มศักดินาที่ยอมร่วมมือกับกลุ่มสฤษดิ์ก็เพราะ กลุ่มศักดินามีความไม่พอใจกลุ่มเผ่าอย่างสูงที่ พลเอกเผ่ามักเป็นตัวตั้งตัวตีในการโจมตีวิพากษ์วิจารณ์ศักดินา
(8.4)เมื่อกลุ่มเผ่าเสียเปรียบจึงเป็นต้องขอการสนับสนุนจากนายกรัฐมนตรีคือจอมพล ป. เมื่อเผ่ากับจับมือกับจอมพล ป.ทั้งสองรู้ว่า แค่กองกำลังตำรวจจึงไม่เพียงพอที่จะต้านทานกองกำลังทหารของสฤษดิ์ และอำนาจจากกลุ่มศักดินา จอมพลป. จึงต้องการคืนดีกับปรีดี พนมยค์ ให้ปรีดีสามารถกลับประเทศได้
(8.5) โดยทูตสหรัฐวิเคราะห์สาเหตุที่จอมพล ป. ต้องการคืนดีกับปรีดีไว้ 2 ประเด็น ดังนี้
•รัฐบาลต้องหาแรงสนับสนุนจากประชาชนที่ยังคงนิยมในตัวปรีดี เพื่อที่รัฐบาลจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในปี 2500
•รัฐบาลต้องการหาแรงสนับสนุนจากกลุ่มปรีดี และเปิดเผยความจริงในกรณีสรรคตในหลวงร.8
บทที่9 การก่อตัวของ “ไตรภาคี” ภาวะกึ่งอาณานิคมและการล่มสลายของประชาธิปไตยไทย Image
(9.1)จอมพลป. เผ่าจับมือกับปรีดี สร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐอย่างสูง การนำปรีดีกลับมาอาจเกิดวุ่นวายในอนาคต ทำให้USจะไม่สามารถดำเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ได้อย่างราบรื่น ประกอบกับภาพลักษณ์ของเผ่า ตกต่ำหลังอย่างมากจากการถูกประชาชนและหนังสือพิมพ์โจมตีอย่างหนักหน่วง
(9.2)สวนทางกับภาพลักษณ์สฤษดิ์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างสูง ภาพลักษณ์ก็เผ่าและป.ที่ย่ำแย่ลงเนื่องจากการโจมตีของกลุ่มศักดินาอย่างพรรคประชาธิปัตย์ว่า เลือกตั้ง2500 มีการโกง เมื่อภาพลักษณ์ของ ป.และเผ่าตกต่ำลง สหรัฐจึงให้การสนับสนุนสฤษดิ์อย่างมากในการขึ้นเป็นผู้นำคนต่อไป
(9.3)ความชอบธรรมทางการเมืองของรัฐบาลตกต่ำลง จอมพลสฤษดิ์จึงก่อการรัฐประหารล้มรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงเป็นการปิดฉากผู้นำคนสุดท้ายจากคณะราษฎรและเปิดฉากการเมืองไตรภาคี ขุนศึก ศักดินา และ พญาอินทรี อย่างเป็นทางการ ที่จะมีบทบาทในทางการเมืองภายใต้ระบอบเผด็จการทหารในอีกหลายทศวรรษ
บทที่ 10 บทสรุป Image
(10.1)การเปิดฉากขึ้นของสงครามเย็น ได้พลิกโฉมหน้าของการเมืองไทยไปอย่างสิ้นเชิงมิใช่เพียงแค่เปลี่ยนรัฐบาลแต่เปลี่ยนแม้กระทั่งอำนาจทางการเมืองอย่างมาก
(10.2)ภายใต้ปีกพญาอินทรีตัวนี้ได้เปลี่ยนมีบทบาทในการล้มรัฐบาล ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และในการสนับสนุนคณะรัฐประหาร 2490 ภายใต้การนำของ จอมพล ป.และกลุ่มศักดินา แม้ รัฐบาล จอมพล ป.จะได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ
(10.3)อย่างไรก็ตามภายในรัฐบาลมีความขัดแย้งในกลุ่มขุนศึก อย่าง พล.ต.อ.เผ่า และ จอมพล สฤษดิ์ ที่ต่างการแสวงหาสนับสนุนจากสหรัฐ
(10.4)จนสุดท้าย ป.จึงจำเป็นต้องจับมือกับพันธมิตรเก่าอย่าง ปรีดี พนมยงค์ เพื่อต่อต้านกลุ่มศักดินาที่รุกคื้บทางการเมืองไทยอย่างหนักหน
(10.5)ภายใต้แผนเชิดชู อุดมการณ์กษัตริย์นิยม เพื่อต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์ จากแผน sbd 23 จากสหรัฐ และการทรยศหักหลัง จอมพลป.ในการรัฐประหาร 2501 จาก สฤษดิ์ ร่วมมือกับกลุ่มศักดินาและสหรัฐ ในการโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป. (END)
นอกจาก ขุนศึก ศักดินา และ พญาอินทรี ผมขอแนะนำหนังสืออีก
3 เล่ม เพื่อเข้าใจการเมืองไทยได้มากขึ้นครับ คือ ขอใฝ่ฝันในฝันอันเหลื่อเชื่อ ของ อ.ณัฐพล รัฐธรรมนูญและศาสรัฐประหาร ของ อ.ปิยบุตร #ฟ้าเดียวกัน #ขุนศึกศักดินาและพญาอินทรี ImageImage

• • •

Missing some Tweet in this thread? You can try to force a refresh
 

Keep Current with Chit Phumisak

Chit Phumisak Profile picture

Stay in touch and get notified when new unrolls are available from this author!

Read all threads

This Thread may be Removed Anytime!

PDF

Twitter may remove this content at anytime! Save it as PDF for later use!

Try unrolling a thread yourself!

how to unroll video
  1. Follow @ThreadReaderApp to mention us!

  2. From a Twitter thread mention us with a keyword "unroll"
@threadreaderapp unroll

Practice here first or read more on our help page!

Did Thread Reader help you today?

Support us! We are indie developers!


This site is made by just two indie developers on a laptop doing marketing, support and development! Read more about the story.

Become a Premium Member ($3/month or $30/year) and get exclusive features!

Become Premium

Too expensive? Make a small donation by buying us coffee ($5) or help with server cost ($10)

Donate via Paypal Become our Patreon

Thank you for your support!

Follow Us on Twitter!

:(