การเรียนการสอนพิเศษในสังคมไทยถือภาพที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในสังคมไทย ข้าราชการครูหลายคนก็สอนพิเศษเป็นอาชีพเสริม แต่เพราะเหตุใดครูจึงจำเป็นต้องออกมาสอนพิเศษ แล้วการที่ครูสอนพิเศษเป็นปัญหากับระบบการศึกษาไทยอย่างไร

(อ่านต่อในเธรด)
——
#นักเรียนเลว
ภาพการเรียนพิเศษของเด็กไทยถือเป็นภาพที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในสังคมไทย ทั้งนี้ ผลสำรวจของกรุงเทพโพลล์ในปี พ.ศ.2557 ชี้ว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกว่าครึ่ง (60.2%) เรียนพิเศษ
ในขณะเดียวกัน ภาพของข้าราชการครูที่สอนพิเศษเป็นอาชีพเสริมก็กลายเป็นสิ่งที่ปกติในสังคมของเราแล้วเช่นกัน แต่เพราะเหตุใดครูจึงจำเป็นต้องออกมาสอนพิเศษ แล้วการที่ครูสอนพิเศษเป็นปัญหากับระบบการศึกษาไทยอย่างไร
ในปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ห้ามครูสอนพิเศษ แต่หน่วยงานต้นสังกัดครูสามารถตั้งกฎเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ ทั้งนี้ ในแต่ละหน่วยงานก็มีนโยบายเรื่องการสอนพิเศษแตกต่างกันไป เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อนุญาตให้ครูสอนพิเศษได้ แต่ห้ามสอนพิเศษภายในพื้นที่โรงเรียน
ในขณะที่กรุงเทพมหานครฯ มีนโยบายเรื่องนี้อย่างเข้มงวด กล่าวคือ ไม่ให้ครูสอนพิเศษแบบเก็บเงิน และห้ามนำข้อสอบไปใช้สอน เราจึงจะเห็นระดับความแตกต่างของนโยบายเรื่องการสอนพิเศษตามแต่ละหน่วยงาน
ในความเป็นจริงไม่ควรมีครูคนใดมาสอนพิเศษเลย เพราะการสอนในห้องควรต้องเพียงพอสำหรับนักเรียนอยู่แล้ว การที่ครูมาสอนพิเศษเป็นอาชีพเสริมจึงแสดงถึงปัญหาของระบบการศึกษาไทยอย่างรุนแรง
เช่น เงินเดือนของครูที่ไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต ระบบราชการที่ทำให้ครูไม่สามารถสอนนักเรียนตามหน้าหลักได้เต็มประสิทธิภาพ หรือข้อสอบที่ออกยากเกินกว่าเนื้อหา
ปัญหาครูที่สอนพิเศษเพื่อหารายได้เสริมเป็นปัญหาเรื้อรังและอยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนานจนกระทั่งสังคมมองว่าเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว ทั้งนี้ เพราะกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้กำหนดกฎข้อนี้เอาไว้ชัดเจน ทำให้หน่วยงานย่อยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต้องออกกฎมาควบคุมเอง เมื่อเป็นเช่นนี้
ครูที่มีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการสอนพิเศษก็จะสามารถล็อบบี้หน่วยงานเหล่านี้ให้ระงับกฎห้ามสอนพิเศษได้ง่าย เพราะคณะบริหารขององค์กรเหล่านี้มีขนาดเล็กกว่าและมีอำนาจน้อยกว่ากระทรวงฯ
ประกอบกับกฎที่ควบคุมการสอนพิเศษก็ยังไม่สามารถบังคับใช้ให้มีประสิทธิภาพได้มากนัก จึงไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โดยง่าย
ครูหลายคนก็อาจออกมาปกป้องการสอนพิเศษว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของนักเรียน ถ้าไม่สอนแล้วนักเรียนจะทำข้อสอบไม่ได้ เพราะเนื้อหาที่ใช้ออกสอบไม่ตรงกับหลักสูตร สิ่งนี้แสดงถึงอีกปัญหาหนึ่งของระบบการศึกษาไทยคือ โรงเรียนมุ่งเน้นแต่จะสร้างผลงานโดยเพิ่มความยากของเนื้อหา
แต่หลายครั้งก็ยากเกินระดับที่เด็กจะสามารถเข้าใจได้ ในท้ายที่สุด นักเรียนก็จำเป็นต้องหาหนทางรอดด้วยการเรียนพิเศษ แต่เราจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่จะต้องกวดขันให้นักเรียนเรียนยากขึ้นกว่าหลักสูตรจนต้องพึ่งพาการเรียนพิเศษเพื่อให้โรงเรียนมีผลงาน
ครูบางคนก็อาจอ้างว่าสอนไม่ทัน แต่การสอนไม่ทันนี้ก็เกิดจากโรงเรียนไทยที่ให้ครูทำงานอย่างอื่นนอกเหนือการสอนมากเกินไปจนกระทั่งไม่มีเวลาสอนอย่างเต็มที่ หากอ้างว่าสอนไม่ทัน ก็ควรจะนัดสอนเพิ่มเติมโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเสียมากกว่าจะใช้ช่องว่างนี้สร้างรายได้ให้กับตนเอง
ทั้งหมดนี้อาจกล่าวได้ว่า การสอนพิเศษเป็นหนึ่งในภาพสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ดีตัวอย่างหนึ่ง เพราะหลายครั้ง การสอนพิเศษจะสอนเนื้อหาที่อยู่นอกเหนือจากบทเรียนแต่ทำให้การเรียนในหลักสูตรง่ายขึ้น หรือแม้กระทั่งนำข้อสอบที่จะใช้สอบจริงมาสอน
และหลายครั้ง ธุรกิจการสอนพิเศษของครูนี้ก็มักมาในคราบของ “ความหวังดี” แต่เพราะเหตุใดความหวังดีนี้จึงจำกัดเพียงเฉพาะนักเรียนที่มีทุนทรัพย์มากพอจะเรียนพิเศษกับครู
แล้วเพราะเหตุใดนักเรียนที่มีทุนทรัพย์มากพอจะเรียนพิเศษจึงไม่สามารถเข้าถึงชุดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกับคนอื่น
การแก้ปัญหาเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วัฒนธรรมประเทศเราที่มองว่าการสอนพิเศษเป็นเรื่องปกติ ไปจนถึงโครงสร้างเงินเดือนครูที่ทำให้การทำอาชีพครูในโรงเรียนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
แต่เราก็คงเริ่มได้จากการสร้างความเข้าใจก่อนว่าการสอนพิเศษไม่เกี่ยวกับการช่วยเหลือเด็ก แต่คือธุรกิจ และควรกดดันให้กระทรวงฯ กำหนดนโยบายที่แน่นอนเกี่ยวกับเรื่องนี้
เพราะหากไม่สามารถกำจัดการสอนพิเศษไปได้อย่างน้อยก็ควรควบคุมให้อยู่ในขอบเขตที่พอรับได้ เราควรร่วมมือกันแก้ปัญหาการสอนพิเศษเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในระบบการศึกษาไทย

• • •

Missing some Tweet in this thread? You can try to force a refresh
 

Keep Current with นักเรียนเลว

นักเรียนเลว Profile picture

Stay in touch and get notified when new unrolls are available from this author!

Read all threads

This Thread may be Removed Anytime!

PDF

Twitter may remove this content at anytime! Save it as PDF for later use!

Try unrolling a thread yourself!

how to unroll video
  1. Follow @ThreadReaderApp to mention us!

  2. From a Twitter thread mention us with a keyword "unroll"
@threadreaderapp unroll

Practice here first or read more on our help page!

More from @BadStudent_

Jan 25
ขอโทษที่ถามไม่ตรงคำตอบ

เปิดคำชี้แจงของรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้จากการไปยื่นหนังสือร้องเรียนเมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา เกี่ยวกับปัญหาการยกเลิกกฎทรงผมของกระทรวงฯ
——
#นักเรียนเลว
#เสรีทรงผม
จะทำอย่างไรไม่ให้โรงเรียนละเมิดสิทธินักเรียน ในตอนที่กระทรวงฯ ยังไม่ออกแนวปฏิบัติสำหรับการออกกฎทรงผมของโรงเรียน ?
มีแนวทางอย่างไรอีกที่จะไม่ให้โรงเรียนละเมิดสิทธินักเรียน นอกจากระบบราชการที่ไม่เคยได้ผล ?
Read 7 tweets
Jan 24
กฎทรงผมถูกยกเลิกฟ้าผ่า โดยตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในช่วงไม่กี่เดือนก่อนจะเลือกตั้งใหญ่ แต่ภายใต้การยกเลิกกฎทรงผมของตรีนุชพยายามขายฝันนั้น กำลังทำให้หัวของเด็กไทยถูกกลืนกินไปมากกว่าเดิม

(อ่านต่อในเธรด)
——
#นักเรียนเลว
#เสรีทรงผม
จากเหตุการณ์ในวันนี้ที่ ตรีนุช เทียนทอง ได้ลงนามยกเลิกกฎทรงผมของกระทรวงฯ และโยนอำนาจการออกกฎทรงผมไปไว้ที่โรงเรียน แสดงให้เห็นว่าตรีนุช ไม่ได้มีความต้องการที่จะทำให้เสรีทรงผมเกิดขึ้นในโรงเรียน และกำลังพยายามทำให้นักเรียนถูกบังคับตัดผมอย่างหนักหน่วงขึ้น
ที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีกฎทรงผมของกระทรวงฯ บังคับใช้อยู่ แต่หลายโรงเรียนก็ยังบังคับนักเรียนตัดผมเป็นว่าเล่น จนเกิดการต่อสู้เรียกร้องขึ้นมากมาย ในวันนี้ที่กฎทรงผมของกระทรวงถูกยกเลิกไป ยิ่งทำให้โรงเรียนได้ใจและบังคับนักเรียนตัดผมได้อย่างอิสระโดยไร้การควบคุม
Read 8 tweets
Sep 1, 2021
ทำไมต้องประท้วงด้วยการหยุดเรียน หยุดเรียนไปทำไม หยุดเรียนแล้วได้อะไร นับจากนี้ไป แรงกระเพื่อมของคนตัวเล็กที่รวมตัวกันจะสั่นสะเทือนไปทั้งรัฐ และทำลายระบบการศึกษาที่ไม่มีประสิทธิภาพท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด
——
#นักเรียนเลว
#ไม่เรียนออนไลน์แล้วอิสัส
การร่วมกันหยุดเรียนเป็นการเรียกร้องอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับการลงถนนประท้วง จุดประสงค์ของการเรียกร้องคือการทำให้ผู้มีอำนาจหันมาสนใจฟังเสียงของเรา เสียงของเราจึงต้องดังพอจนผู้มีอำนาจที่มักปิดหูตัวเองไม่ฟังข้อเรียกร้องไม่สามารถมองข้ามได้
ในสถานการณ์ปัจจุบัน เด็กนักเรียนหลาย ๆ คนไม่สามารถออกจากบ้านไปร่วมการชุมนุมได้ การหยุดเรียนเพื่อประท้วงจึงเป็นรูปแบบการเรียกร้องที่เข้ากับสถานการณ์และสามารถส่งแรงสั่นสะเทือนไปยังผู้มีอำนาจได้มากกว่า
Read 15 tweets
Sep 1, 2021
เมื่อระบบการศึกษาไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมเราถึงต้องทน? ถ้านักเรียนทุกคนพร้อมใจกันหยุดเรียน จะสร้างแรงกระเพื่อมได้มากขนาดไหน ส่งเสียงของพวกเราออกมา ร่วมหยุดเรียนไปด้วยกัน!
——
#นักเรียนเลว
#ไม่เรียนออนไลน์แล้วอิสัส
การหยุดเรียนออนไลน์ในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสียงไปถึงรัฐบาลและกระทรวงศึกษา เพราะการสไตรค์ของนักเรียนจะส่งผลกระทบถึงระบบโดยตรง เช่น การประท้วงของเกรต้า ธันเบิร์ก ที่ทำให้ผู้มีอำนาจต้องหันมาสนใจข้อเรียกร้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ระบบการศึกษาไทยโดยเฉพาะในรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ มีปัญหามากมายที่ยังคงรอการแก้ไข เช่น ค่าใช้จ่ายที่แพงเกินความเหมาะสม การเพิกเฉยต่อปัญหาสุขภาพจิตของครูและนักเรียน กรอบหลักสูตรการเรียนการสอนที่ตายตัว การเรียนออนไลน์ที่ไม่ทั่วถึง และปัญหาวัคซีนที่ล่าช้า เป็นต้น
Read 7 tweets

Did Thread Reader help you today?

Support us! We are indie developers!


This site is made by just two indie developers on a laptop doing marketing, support and development! Read more about the story.

Become a Premium Member ($3/month or $30/year) and get exclusive features!

Become Premium

Don't want to be a Premium member but still want to support us?

Make a small donation by buying us coffee ($5) or help with server cost ($10)

Donate via Paypal

Or Donate anonymously using crypto!

Ethereum

0xfe58350B80634f60Fa6Dc149a72b4DFbc17D341E copy

Bitcoin

3ATGMxNzCUFzxpMCHL5sWSt4DVtS8UqXpi copy

Thank you for your support!

Follow Us on Twitter!

:(