The Momentum Profile picture
Apr 26 8 tweets 2 min read Twitter logo Read on Twitter
ผู้ชายต้องเป็นแบบนั้น ผู้หญิงต้องเป็นแบบนี้ บ่อยครั้งเรามักจะได้ยินกับคำพูดเหมารวมจากการมีเพศกำเนิดชายหญิง จนละเลยที่จะตั้งคำถาม เพียงเพราะเชื่อว่าเพศสรีระ (Biological Sex) สามารถกำหนดพฤติกรรมและบทบาทของทุกคนได้อย่างตายตัว เนื่องจากเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างให้เราทุกคน Image
“เราไม่ได้เกิดมาเป็นหญิง หากแต่ถูกทำให้กลายเป็นหญิง” ซีโมน เดอ โบวัวร์ นักคิดชาวฝรั่งเศส ได้เขียนประโยคดังกล่าวในหนังสือ The Second Sex ตั้งแต่ปี 1949 หนึ่งในตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า แนวคิดเรื่องการยึดติดกับเพศกำเนิดถูกวิพากษ์วิจารณ์มานาน แต่เรายังพบเห็นความคิดนี้ทั่วไปในปัจจุบัน Image
ในปี 2017 บริษัท Google ได้ปลดวิศวกรชายคนหนึ่งออก หลังพบว่าพนักงานคนนี้ต่อต้านนโยบายความเท่าเทียมทางเพศของบริษัท โดยการส่งบันทึกที่มีเนื้อหาว่าผู้หญิงไม่สามารถทำงานในบริษัทไอทีชั้นนำอย่าง Google ได้ และไม่สามารถเขียนโค้ดได้ดี เพราะพวกเธอมีโครโมโซมเพศหญิง
นอกจากกรณีอดีตวิศวกรชายจาก Google ที่เชื่อว่าผู้หญิงไม่สามารถทำงานในบริษัทไอทีชั้นนำได้ เพราะเรื่องของโครโมโซมเพศที่ถือว่าเป็นการเหยียดเพศที่มองว่าเพศหญิงอ่อนแอกว่าอย่างเห็นได้ชัดแล้ว การยึดติดเพศสรีระที่แฝงมาด้วยอคติทางเพศยังอาจปรากฏในรูปแบบของ ‘Benevolent Sexism’
Benevolent Sexism คือการที่ผู้ชายทำตัวเป็นสุภาพบุรุษ ให้เกียรติด้วยเพราะอีกฝ่ายเป็นผู้หญิง เพราะคิดว่าตัวเองมีหน้าที่ในการปกป้องผู้หญิง ดูเผินๆ แล้วเหมือนจะเป็นเรื่องดี แต่แท้จริงคือการมองว่าเพศหญิงเป็นเพศที่อ่อนแอกว่าตน ถือว่าเป็นการกระทำที่เกิดจากอคติทางเพศโดยไม่รู้ตัว
แน่นอนว่าอคติทางเพศจากเพศสรีระนั้นไม่ได้ทำร้ายแค่ผู้หญิงหรือเพศหลากหลาย แต่ยังทำร้ายผู้ชาย ทั้งเรื่องทางกาย เช่น ส่วนสูง ความแข็งแรง ที่ถูกคาดหวังว่าต้องมีรูปร่างที่มีความเป็นชาย หรือการถูกคาดหวังให้ต้องเข้มแข็ง ไม่ร้องไห้
พื้นฐานของการเคารพความแตกต่างหลากหลายทางเพศ ไม่ใช่การให้เกียรติเพศใดเพศหนึ่งด้วยความคิดที่ว่าเขามีอำนาจน้อยกว่าเรา แต่อยู่ที่การให้เกียรติซึ่งกันและกันในฐานะมนุษย์ และเพราะเพศเป็นเรื่องทางสังคมมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้

• • •

Missing some Tweet in this thread? You can try to force a refresh
 

Keep Current with The Momentum

The Momentum Profile picture

Stay in touch and get notified when new unrolls are available from this author!

Read all threads

This Thread may be Removed Anytime!

PDF

Twitter may remove this content at anytime! Save it as PDF for later use!

Try unrolling a thread yourself!

how to unroll video
  1. Follow @ThreadReaderApp to mention us!

  2. From a Twitter thread mention us with a keyword "unroll"
@threadreaderapp unroll

Practice here first or read more on our help page!

More from @themomentumco

Apr 25
เส้นทางของ Miss Universe ไม่ได้โรยด้วย ‘กลีบกุหลาบ’ เพราะการได้สวมใส่มงกุฎอันแสนสง่า ทุกแสงสปอตไลต์จับจ้องมาที่พวกเธอ พร้อมคำชมจากทั่วสารทิศถึงการตอบคำถามอันเป็นปราการด่านสุดท้ายที่แสดงถึง ‘กึ๋น’ ตามมายาคติ ‘ผู้หญิงที่สวยและฉลาด’ ท่ามกลางผู้หญิงหลายร้อยคนไม่ใช่เรื่องง่าย… twitter.com/i/web/status/1… Image
นอกจาก ‘การเป็นสนามอารมณ์’ ที่ต้องรับมือกับข้อครหาจากทุกฝ่าย ในฐานะตัวแทนที่เหมาะสมด้วยการเป็นคนฉลาด พูดภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม แบกรับ ‘ค่านิยมความสวย’ รวมถึงการวางตัวให้มีจริตจะก้าน ยิ้มรับทุกสถานการณ์
ผู้หญิงหลายคนยังต้องอดทนต่อ ‘การคุกคามทางเพศ’ และ ‘การรุกล้ำสิทธิส่วนตัว’ ในกระบวนการประกวด เพียงแค่ภาพจำเดิมๆ และการเหมารวมต่อการประกวดนางงาม ตั้งแต่การต้องเป็นผู้หญิงที่อยู่ในกรอบ มีภาพลักษณ์อ่อนน้อม รักเด็ก ปฏิบัติตามคำสั่ง และที่สำคัญ ‘ไม่ทำตัวขบถ’
Read 10 tweets
Apr 24
‘ปกป้องลูกหลานของเรา’ (Protect Our Children)

‘กฎหมายต่อต้านการล่อลวงเด็ก’ (Anti-Grooming Bill)

‘อย่าพูดถึงเกย์’ (Don’t Say Gay)

การปกป้องเยาวชนจากการถูกล่อลวง คือวาทกรรมที่ฝ่ายขวาในสหรัฐอเมริกา ใช้เป็นเครื่องมือโจมตีชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศมาอย่างยาวนาน… twitter.com/i/web/status/1… Image
คำถามสำคัญคือ ข่าวลือและความเข้าใจผิดอันร้ายแรงนี้ เป็นเรื่องราวที่ฝ่ายขวาปั้นน้ำเป็นตัวขึ้นมาเองทั้งหมด เพื่อใส่ร้ายจริงหรือไม่

คำตอบมีทั้ง ‘จริง’ และ ‘ไม่จริง’ ในเวลาเดียวกัน
แต่จะบอกว่าเป็นเรื่องโกหกร้อยเปอร์เซ็นต์เลย ก็คงไม่จริงเสียทีเดียว เพราะในความเป็นจริงนั้น ก็มีกลุ่มคนที่เชื่อด้วยใจจริงว่าความใคร่เด็กเป็นเพียงรสนิยมทางเพศ หรือแม้แต่เพศวิถี (Sexual Orientation) แบบหนึ่งที่ควรได้รับการยอมรับเช่นกัน
Read 5 tweets
Apr 21
“โดนทำร้ายร่างกายขนาดนี้ทำไมยังกลับไปคบ?” เชื่อว่าเป็นคำถามยอดนิยม เมื่อคนที่รู้จักตกอยู่ในความสัมพันธ์เป็นพิษ (Toxic Relationship) มองจากสายตาของคนนอกก็ไม่มีเหตุผลให้ทนต่อ แต่สำหรับเหยื่อมีเหตุผลอีกนานัปการ ที่ทำให้เธอไม่กล้าเดินออกจากความสัมพันธ์

#เรื่องของจี้ #จีจี้สุพิชชา Image
คาสซานดรา วีเนอร์ ศาสตราจารย์อาวุโสด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัยลอนดอน ให้เหตุผลว่า การบังคับและการควบคุมเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ผู้กระทำมักใช้กับเหยื่อ เช่น การดูแลเหยื่อในช่วงเริ่มต้นของความสัมพันธ์เป็นอย่างดี จนได้รับความไว้ใจ หลังจากนั้นจะทำให้เหยื่อรู้สึกกลัว
การวิจัยยังพบว่า ผู้กระทำมักใช้การควบคุมผ่านการเข้าถึงครอบครัว เพื่อน และเงิน สิ่งนี้ทำให้การออกจากความสัมพันธ์ยากยิ่งขึ้น และคือสิ่งตรงข้ามที่หลายคนมักตั้งคำถามว่า ทำไมยังทนคบในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษอยู่? แต่เหยื่อไม่มีทางเลือกและคิดว่าการกลับมาคบจะปลอดภัยต่อชีวิตมากกว่าต่างหาก
Read 9 tweets

Did Thread Reader help you today?

Support us! We are indie developers!


This site is made by just two indie developers on a laptop doing marketing, support and development! Read more about the story.

Become a Premium Member ($3/month or $30/year) and get exclusive features!

Become Premium

Don't want to be a Premium member but still want to support us?

Make a small donation by buying us coffee ($5) or help with server cost ($10)

Donate via Paypal

Or Donate anonymously using crypto!

Ethereum

0xfe58350B80634f60Fa6Dc149a72b4DFbc17D341E copy

Bitcoin

3ATGMxNzCUFzxpMCHL5sWSt4DVtS8UqXpi copy

Thank you for your support!

Follow Us on Twitter!

:(