SPECTROGRAM: เธรดนี้รวม 10 เหตุผล ทำไมหลายๆ คนอยากให้แบนเพจผู้ชายใส่แว่น
(หมายเหตุ: เนื้อหามีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการข่มขืน การคุกคามทางเพศ อาการใคร่เด็ก)
#SexualAbuse (ความรุนแรงทางเพศ) - กรณีที่ถือว่ารุนแรงมากที่สุดกรณีหนึ่งของผู้ชายใส่แว่นคือ การผลิตซ้ำข่าวคดีผู้ชายรุมข่มขืนเด็กอายุ 12 เมื่อปี 2018 ด้วยการ ‘วาดภาพเหตุการณ์การข่มขืน’ ออกมา พร้อมใส่ข้อความว่า ‘คดีนี้ควรประหาร’ ซึ่งดูเหมือนว่าจะมีเจตนาที่ดี แต่...
วิธีการที่แสดงออกมาถือเป็นการกระทำที่ขาดความเห็นใจ (Empathy) และความตระหนักถึงบาดแผลทางจิตใจ (Trauma) รวมถึงความรู้สึกด้านลบที่อาจถูกกระตุ้นขึ้นมาได้ถ้าเห็นภาพของเหยื่อหรือผู้ที่มีประสบการณ์ร่วม
#DomesticViolence (ความรุนแรงในครอบครัว) ผู้ชายใส่แว่นยังเคยใช้การ์ตูนเพื่อสร้างความชอบธรรมในการทำร้ายร่างกายคู่รักผู้หญิงและความรุนแรงในครอบครัว โดยรูปหนึ่งแสดงให้เห็นผู้หญิงที่ถูกทำร้ายซึ่งมีแผลเลือดออกจากการถูกแทง พร้อมกับผู้ชายถือมีดที่มีแผลเลือดออกที่ใจ (ต่อ)
ซึ่งพยายามชี้ให้เห็นว่าที่ผู้ชายทำร้ายผู้หญิงไปนั้นก็เพราะตัวเองโดนทำร้ายจิตใจ และถึงผู้ชายที่เป็นผู้กระทำจะไม่มีแผลเหมือนที่ผู้หญิงมีบนร่างกาย แต่ก็มีความรู้สึกเจ็บปวดที่มองไม่เห็นจากสิ่งที่ตัวเองทำเหมือนกัน (ต่อ)
ซึ่งการส่งเมสเสจแบบนี้เป็นการลดความสำคัญและระดับความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจที่ผู้หญิงทั่วโลกต้องเจออยู่ทุกวัน และสร้างความเข้าใจว่าผู้ชายสามารถจัดการกับความเจ็บปวดของตัวเองหรือปัญหาที่ต้องเจอผ่านการทำร้ายร่างกายผู้หญิงได้
#RelationshipAbuse (การคุกคามคู่รัก) - คอนเทนต์ที่มีเป็นประจำของผู้ชายใส่แว่นคือเนื้อหาที่ทำให้การใช้เซ็กซ์แก้ปัญหาในคู่รักเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะประเด็นอย่าง Make-up sex (เพศสัมพันธ์เพื่อคืนดี) ที่ผู้ชายใส่แว่นพยายามแสดงออกมาว่าถ้าอีกฝ่ายจะกำลังโกรธ หรือไม่พอใจอยู่ (ต่อ)
การมีเซ็กซ์ก็จะช่วยให้ผู้หญิงหายโกรธและกลับมาดีกันได้ง่ายๆ ซึ่งถือว่าเป็นการมองข้ามความรุนแรงของการมีเซ็กซ์โดยอีกฝ่ายไม่ยินยอม อีกทั้งยังส่งเสริมค่านิยมการใช้การบังคับขืนใจในการแก้ปัญหาแทนการพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจ ซึ่งมีแต่จะก่อปัญหาในระยะยาวและทำให้ความสัมพันธ์เป็นพิษ
#Pedophilia (อาการใคร่เด็ก) - มีหลายครั้งที่คอนเทนต์ของผู้ชายใส่แว่นแสดงทัศนคติเชิง ‘ใคร่เด็ก’ ผ่านการทำให้ความสัมพันธ์ของผู้ใหญ่และเด็ก (หรือแม้กระทั่งเด็กด้วยกัน) เป็นไปในทางเพศ โดยการวาดรูปที่เป็นไปในทางรักๆ ใคร่ๆ หรือมีอารมณ์ทางเพศกับเด็ก (วาดจู๋ที่แข็งตัวเมื่ออยู่กับเด็ก)
ยกตัวอย่างเช่น กรณีรูปเด็กผู้ชายวัยประถมนอนตักรุ่นพี่ม.3 ที่เป็นไวรัลเมื่อหลายปีก่อน ผู้ชายใส่แว่นได้นำมาวาดโดยแสดงสีหน้าของเด็กประถมให้เป็นในทางเขินอาย และพึงพอใจที่จะได้ใกล้ชิดกับผู้ชายที่โตกว่า รูปนี้สร้างความไม่พอใจอย่างมากจนผู้ปกครองของเด็กต้องมาบอกให้ลบรูปนั้นออกไป (ต่อ)
ยังรูปที่แสดงออกว่าผู้มีอายุมากกว่าพยายามสร้างความสัมพันธ์กับเด็กที่ต่ำกว่าวุฒิภาวะ เพื่อที่หล่อหลอมให้เด็กถูกเอาเปรียบได้ง่ายขึ้น (Child grooming) เช่น รูปที่ผู้ชายที่โตแล้วให้ของขวัญกับเด็กผู้หญิงอายุไม่เกินวัยมัธยมต้นเป็นถุงยางอนามัย โดยพูดจาชักชวนให้มาเปิดกล่องที่ห้องของตนเอง
#GenderStereotypes (ภาพเหมารวมเกี่ยวกับเพศ) - เนื้อหาหนึ่งที่ผู้ชายใส่แว่นมักจะนำเสนออยู่เสมอก็คือการตอกย้ำภาพจำเหมารวมที่ผูกติดอยู่กับเพศหนึ่ง โดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งรูปวาดทำนองว่าผู้หญิงชอบแต่ผู้ชายฐานะดี หน้าตาดี เลี้ยงดูได้ ซื้อของขวัญให้ มักจะมีให้เห็นอยู่เสมอ (ต่อ)
งานของผู้ชายใส่แว่นที่เรียกได้ว่าทำให้เกิดการถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดคงเป็นงานที่วาดผู้หญิงที่สนใจแต่ผู้ชาย ‘มีเงิน’ ‘หล่อดูดี’ ‘ไม่ลำบาก’ เป็นผู้หญิงพิการนั่งอยู่ในรถเข็น เพื่อจะสื่อว่าผู้หญิงเหล่านี้ ‘ไม่ทำอะไรเหมือนคนพิการ’ รอแต่ให้ผู้ชายมาดูแล (ต่อ)
ซึ่งนี่ไม่เพียงแต่ทำให้ความพิการเป็นสิ่งที่เอามาล้อเล่นได้ แต่ยังส่งเสริมภาพทางลบเกี่ยวกับเพศหญิง ว่าไม่สามารถใช้ชีวิตหาเลี้ยงตัวเองได้ ต้องพึ่งพาผู้ชายด้านการเงินไปตลอด
#TraditionalGenderRoles (บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม) - นอกจากจะตอกย้ำภาพเหมารวมทางเพศแล้ว ผู้ชายใส่แว่นยังเล่าเรื่องที่ผลิตซ้ำบทบาททางเพศแบบเก่า คือ ผู้หญิงเลี้ยงลูก ทำงานบ้าน ส่วนผู้ชายเล่นเกมส์ ต้องการอิสระของตัวเอง ทำงานบ้านอย่างไม่เต็มใจเพราะโดนผู้หญิงสั่ง (ต่อ)
โดยภาพที่แสดงออกมาว่าผู้ชายที่ถูบ้านเป็น ‘ทาสเมีย’ เช่นนี้ มีนัยยะว่างานบ้านเป็นเพียงสิ่งที่ผู้ชายถูกบังคับให้ทำ ไม่ใช่ภาระหน้าที่ที่ควรแบ่งกันทำระหว่างคู่รักอยู่แล้ว งานวาดแบบนี้จึงสะท้อนความคิดว่ายังมีหน้าที่บางอย่างซึ่งควรสงวนไว้สำหรับแค่เฉพาะเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น (ต่อ)
ซึ่งเป็นความเชื่อที่ล้าหลังและขัดต่อเสรีภาพในการเลือกของคนทุกเพศ ส่วนบางคอนเทนต์ที่วาดให้ผู้ชายทำส่ิงที่ปกติเป็นหน้าที่ผู้หญิง ผู้หญิงในความสัมพันธ์ก็ถูกทำให้ดูเหมือนเอาเปรียบผู้ชายและไม่ทำอะไร (บอกให้ลูกสาว “เลือกคนที่แบบโง่ๆ และยอมเรา”) เป็นการสร้างภาพจำผิดๆ เกี่ยวกับผู้หญิงอีก
#SexualObjectification (ทำให้ผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศ) ในรูปต่างๆ ของผู้ชายใส่แว่นมักแสดงทัศนคติที่มองผู้หญิงว่าเป็นเหมือนเครื่องสนองความต้องการทางเพศของผู้ชายผ่านเนื้อหาที่เล่าอยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูปผู้ชายอุ้มตุ๊กตาผู้หญิง (ต่อ)
พร้อมเขียนคำอธิบายว่า “เมื่อโตพอ จะรู้ว่าการ “รักษา” มันมีค่ากว่าการ “หาใหม่” ซึ่งในรูปนั้นวาดผู้หญิงให้เป็นตุ๊กตาของเล่นที่อยู่ในกล่อง ซึ่งทำให้แง่มุมความเป็นมนุษย์ของผู้หญิงหายไปอย่างสิ้นเชิง ผู้หญิงกลายเป็นเหมือนสิ่งของที่ผู้ชายครอบครองได้แทน
หรือหลายๆ คอนเทนต์ก็โฟกัสไปที่เรื่องร่างกายของผู้หญิง ขนาดความ ‘เล็ก’ ‘ใหญ่’ ของหน้าอกผู้หญิง รวมถึงเอาผู้หญิงที่หน้าอกเล็กมาเป็นมุกตลกอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการเน้นย้ำมาตราฐานความสวยแบบที่สังคมประกอบสร้างและยังลดคุณค่าของผู้หญิงให้เหลือแค่เครื่องเพศ
#ConsentViolation (ละเลยความยินยอม) - ‘No means no’ ดูเหมือนจะเป็นแนวคิดอีกอย่างที่ผู้ชายใส่แว่นไม่เข้าใจ เพราะนอกเหนือไปจากการลดทอนคุณค่าความเป็นคนของผู้หญิงแล้ว เพจผู้ชายใส่แว่นก็ยังสอดแทรกความคิดที่ลดทอนการให้ความยินยอมและอำนาจเหนือร่างกายตัวเองของผู้หญิง
โดยมักเล่าในเชิงว่าท่าทีปฏิเสธหรือไม่พูดอะไรของผู้หญิง อาจจะไม่ได้หมายความว่า ‘ไม่’ เสมอไป แต่เป็นการอิดออดเพื่อถือตัว ให้ดูมี ‘อะไร’ มากขึ้น ซึ่งตัวละครผู้ชายใส่แว่นมักแสดงพฤติกรรมการลวนลาม จับหน้าอก ควัก ล้วงส่วนต่างๆ ของผู้หญิงโดยไม่มีการไต่ถามถึงความยินยอมก่อน
#EmptyApology (ออกมาขอโทษหลายรอบ แต่ไม่เคยปรับปรุง) - จากกรณีตัวอย่างทั้งหลายที่ยกมา เพจผู้ชายใส่แว่นได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ผ่านทางโซเชี่ยลมีเดียอยู่หลายครั้งหลายคราวด้วยกัน ซึ่งทางแอดมินเพจผู้ชายใส่แว่นได้ออกมาแถลงการขอโทษถึงการกระทำของตัวเองอยู่หลายรอบ ลบรูปที่เป็นปัญหาออกไป (ต่อ)
แต่เนื้อหาของเพจก็ไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นสักเท่าไร ในขณะเดียวกันก็มีกรณีที่แอดมินเพจออกมาปฏิเสธที่จะยอมรับคำวิจารณ์ และยืนยันว่า ‘นี่คือสิ่งที่เขาเป็น’ คงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน (ต่อ)
อย่างในกรณีที่ชี้ถึงความย้อนแย้งในการวาดรูปผู้ชุมนุมที่ถือป้ายว่าถูกทำอนาจารของผู้ชายใส่แว่นล่าสุด ทางเพจผู้ชายก็ได้ออกมาตอบกลับกระแสนี้ในเชิงตัดพ้อประมาณว่าพยายามที่จะสร้างความตระหนักแก่คนอ่าน แต่กลับได้รับการต่อว่ากลับมาแทน (อ่านข้อความเต็ม: bit.ly/35X891t)
#FemTwitAreTrash (เฟมทวิต = ขยะสังคม) - เพจผู้ชายใส่แว่นนั้นไม่เพียงแต่นำเสนอการ์ตูนที่มีเนื้อหาที่รุนแรงหรือแฝงไปด้วยอคติทางเพศเท่านั้น แต่ยังต่อต้านการพยามสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องเพศจากกลุ่มเฟมินิสต์หรือผู้ที่เคลื่อนไหวเรื่องเพศออนไลน์อีกด้วย
โดยเมื่อใดก็ตามที่มีการนำเนื้อหาของเพจนี้ไปวิจารณ์ เจ้าของเพจก็จะออกมาแสดงความไม่พอใจต่อกลุ่มเฟมทวิตที่สร้างความตระหนักเรื่องนี้ เช่น เฟมทวิต “ขยะแขยงคนอื่นไปทั่ว...ไม่เคารพสิทธิคนอื่น” และยังเคยบอกว่าคำวิจารณ์ที่ตัวเองโดนคือการ “คุกคาม” ทั้งที่เขาไม่สมควรได้รับคำพูดเหล่านั้น
ซึ่งความจริงแล้ว สิ่งที่ผู้ชายใส่แว่นทำอยู่เป็นประจำคือการไป ‘กดทับ’ ‘สนับสนุนการคุกคาม’ และ ‘ไม่เคารพสิทธิของคนอื่น’ ก่อน การที่คนที่ถูกกดทับจะออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมและบอกว่าการเอาเปรียบคนอื่นแบบนั้นไม่เหมาะสมก็ไม่ใช่การ ‘คุกคาม’ อย่างที่กล่าวมา

• • •

Missing some Tweet in this thread? You can try to force a refresh
 

Keep Current with SpectrumTH

SpectrumTH Profile picture

Stay in touch and get notified when new unrolls are available from this author!

Read all threads

This Thread may be Removed Anytime!

PDF

Twitter may remove this content at anytime! Save it as PDF for later use!

Try unrolling a thread yourself!

how to unroll video
  1. Follow @ThreadReaderApp to mention us!

  2. From a Twitter thread mention us with a keyword "unroll"
@threadreaderapp unroll

Practice here first or read more on our help page!

More from @spectrum_thai

22 Nov
“สรงประภา: Reclining Queer Nudes” - คือชื่องานนิทรรศการศิลปะล่าสุดของ ‘โอ๊ต มณเฑียร’ ที่นำเสนอการวาดภาพนู้ดที่มีแบบเป็นเกย์ ผ่านภาพวาดสีชอล์กพาสเทลเพื่อนำเสนอแสงสีที่แตกต่างเพื่อสะท้อน อารมณ์ และความรู้สึก ที่เกิดขึ้นระหว่างบทสนทนาของศิลปินและแบบ ImageImageImageImage
ตามความหมายของชื่องาน “สรงประภา” นั้นแปลว่า “การอาบแสง” โดยศิลปินยังแฝงการตั้งคำถามเกี่ยวกับขนบการเป็นเกย์ และกรอบเพศของความเป็นชาย-หญิงไว้ในงานนี้ด้วย
“ไอเดียเรื่อง Queer สำหรับเราคือการปฏิเสธขนบ คืออะไรที่เคยมีมา จะตั้งคำถาม ไม่สมยอมศิโรราบต่อมัน และเปลี่ยนมัน กำลังตั้งคำถามกับ ‘ขนบของการวาดนู้ดแนวนอนของผู้หญิง’ ที่เป็นไปในแบบ ‘ศิลปินชายมองผู้หญิง’”
Read 10 tweets

Did Thread Reader help you today?

Support us! We are indie developers!


This site is made by just two indie developers on a laptop doing marketing, support and development! Read more about the story.

Become a Premium Member ($3/month or $30/year) and get exclusive features!

Become Premium

Too expensive? Make a small donation by buying us coffee ($5) or help with server cost ($10)

Donate via Paypal Become our Patreon

Thank you for your support!

Follow Us on Twitter!