ข่าวไม่ค่อยดีนะครับเกี่ยวกับการบูสด้วยวัคซีน และประสิทธิผลต่อการป้องกันโรค #โควิด มีอาการ จากเชื้อ #omicron รูปแรกถ้าเราเริ่มด้วย AZ (AstraZeneca) 2 เข็มภายใน 4 เดือนประสิทธิผลกก็ 0% แล้วนะครับ ถ้าบูสด้วยไฟเซอร์ ภูมิต่อเดลตาขึ้นดีและอยู่นาน แต่ต่อ omicron หายไปเร็วมาก 1/
ภายใน 10 สัปดาห์เหลือแค่ 30% ถ้าบูสด้วยโมเดอร์นาเหลือ 40% ภายใน 5-9 สัปดาห์ คราวนี้ถ้าเราเริ่มต้นด้วยไฟเซอร์ 2 เข็มบ้าง (รูป 2) ประสิทธิผลเหลือ 0% ภายใน 20 สัปดาห์ ( 5 เดือน) ดีกว่า AZ นิดนึง ถ้าเราบูสด้วยไฟเซอร์ประสิทธิผลเหลือ 40% ภายใน 10 สัปดาห์ แบะถ้าบูสด้วยโมเดอร์นา 2/
ประสิทธิผลเหลือ 70กว่าเปอร์เซ็นต์ใน 5-9 สัปดาห์ ตัวเลข Moderna ตามหลังไฟเซอร์อยู่นะครับเพราะเริ่มต้นใช้วัคซีนช้ากว่า แต่เทียบแล้วดูเหมือน Moderna ดีกว่านิดหน่อยแต่มีช่วงความเชื่อมั่นกว้างเกินไปนิด รอข้อมูลมากกว่านี้ค่อยสรุปครับ แล้ว AZ ล่ะที่บอกว่ากระตุ้นภูมิต่อ omicron ได้ 3/
ผมคิดว่าคงได้ล่ะครับ แต่ดี และอยู่ได้นานเท่าไรนั้นอีกประเด็นหนึ่ง ตอนนี้ผมกำลังชั่งใจว่าจะอธิบายความแรงของการตอบสนอง (magnitude) ความครอบคลุมหรือความกว้างของการตอบสนอง (breadth) และการตอบสนองข้ามความจำเพาะ (cross-reactivity) ดีมั้ย สรุปว่าไม่อธิบายดีกว่า ;) เอาเป็นว่าตอนนี้ 4/
มีคำถามมากกว่าคำตอบครับ แต่ก่อนจะมีวัคซีนรุ่นใหม่ออกมา เราคงต้องฉีดวัคซีนรุ่นเก่าบ่อยครั้งขึ้น แค่บ่อยแค่ไหนก็เป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบละครับ ขึ้นกับ 1) เราต้องการป้องกันโรคที่ไม่มีอาการ หรือแค่ป้องกันโรคที่มีอาการรุนแรง ถ้าเป็นคนที่เรารัก ลเราคงคิดแบบหนึ่ง แต่คิดแบบมองภาพรวม 5/
เค้าคงมองอีกแบบเพราะขึ้นกับปัจจัยข้อ 2 ด้วย 2) มีเงิน มีวัคซีนให้ฉีดให้บ่อยครั้งแค่ไหน ผม“เดา”ว่าตอนนี้ถ้าต้องการป้องกันโรคแบบไม่มีอาการด้วยวัคซีนรุ่นเก่า (ที่เลยเวลา update มาชาตินึงแล้ว) และในสภาวะ ideal ไม่มีข้อจำกัด คงเป็นมี Moderna vaccine เป็น primary series ( 2 เข็ม) 6/
แล้วบูสด้วย Moderna ไปทุก 3 เดือนจนกว่าเราจะมีวัคซีนที่เป็น new gen (เสียที) สำหรับคนที่ไม่ได้ฉีด Moderna เป็น primary series ทำยังไง ยังไม่ต้องกลัวครับ คุณมีเพื่อน ผมไงเป็นเพื่อนคุณ :) คุณควรได้รับบูสเตอร์ครับ แต่นั่นไม่พอครับ การป้องกัน #โควิด ยังคงต้องพึ่งอีก 2 ประการ 7/
1. มาตรการดั้งเดิมที่เราใช้มาแต่สงับที่ทางนิดนึงเพราะมันมีหลักว่ามันสามารถแพร่ติดทางละอองฝอยขนาดเล็กมากได้ อย่าอยู่ในที่อับ หรือห้องแอร์แม้ว่าอยู่ห่างกันเกิน 2 เมตร ถ้าจำเป็นก็อยู่ให้สั้นที่สุด มาตรการอื่นเหมือนเดิม 2. ATK - คุณต้องต้องเห็นผล ATK ของเค้า และเป็นผลที่มีอายุ 8/
ไม่เกิน 12 ชั่วโมง (หรืออย่างเลวที่สุด 24 ชั่วโมง ไม่ใช่ 72 ชั่วโมง! ขีดเส้นใต้ ตัว bold ไฟกะพริบ โรยกากเพชร) ใครไม่มีผลแบบนี้คุณทำได้ 2 อย่างคือเชิญเค้าออกไป หรือเอาตัวคุณออกมา ในภาพรวม omicron อาจรุนแรงน้อยกว่าเดลตา แต่ในระดับบุคคล omicron still kills นะครับ Merry Christmas :)
ที่มาของข้อมูลและรูป assets.publishing.service.gov.uk/government/upl…

• • •

Missing some Tweet in this thread? You can try to force a refresh
 

Keep Current with ρσкяαтн нαηѕαѕυтα แอคหลุม อย่าฟอล อย่าฟาด

ρσкяαтн нαηѕαѕυтα แอคหลุม อย่าฟอล อย่าฟาด Profile picture

Stay in touch and get notified when new unrolls are available from this author!

Read all threads

This Thread may be Removed Anytime!

PDF

Twitter may remove this content at anytime! Save it as PDF for later use!

Try unrolling a thread yourself!

how to unroll video
  1. Follow @ThreadReaderApp to mention us!

  2. From a Twitter thread mention us with a keyword "unroll"
@threadreaderapp unroll

Practice here first or read more on our help page!

More from @pokrath

23 Dec
สรุป #omicron #โควิด19 ข้อมูลถึง 23/12/2021
1. แพร่เร็วกว่าเดลตา 2-3 เท่า
2. ติดได้ในคนที่มีภูมิแล้ว (เคยติดเชื้อแล้ว หรือฉีดวัคซีนแล้ว)
3. ฉีดบูสเตอร์ช่วยทำให้ป้องกัน omicron ได้ดีขึ้น
4. เทียบกับ #เดลตา แล้ว คนติด omicron เข้าโรงพยาบาลน้อยลง (ยังไม่รู้ว่าเพราะ- intrinsic 1/ ImageImage
property หรือเพราะเนื่องจากมันติดในคนที่มีภูมิแล้วจึงทำให้ความรุนแรงลดลง) แต่ละประเทศอัตราการเข้าโรงพยาบาลไม่เท่ากัน มีความเป็นไปได้ว่า ไม่ใช่ปัจจัยเรื่องความรุนแรงของไวรัสเพียงอย่างเดียว ประเทศทั้งสามในทวีต 1 มีภูมิที่ได้มาจากติดเชื้อหรือวัคซีนเหนือกว่าไทย สถานการณ์เราอาจ 2/ Image
แตกต่างจากเค้า ดังนั้นระวังไว้ก่อนดีกว่า
5. เชื้อ #omicron มาเร็ว ถึงพีคเร็ว และจากไปเร็วในแอฟริกาใต้ และคล้ายว่าจะเป็นเช่นเดียวกันใน London
6. ยา Paxlovid (Pfizer) ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้จากอ.ย.อเมริกาแล้ว เราน่าซื้อมาใช้ ดูเหมือนเป็นยาที่ดีที่สุดในขณะนี้
7. คนที่ได้รับวัคซีน 3/ ImageImage
Read 8 tweets
12 Dec
ถ้า #omicron เข้ามาระบาดในชุมชนประเทศไทยซึ่งมาแน่ กราฟจะเป็นเส้นสีแดงเหมือน 4 ประเทศนี้ ระบาดเก่งกว่าเดลตา 2.5 เท่าเป็นอย่างน้อย ภายในเดือนกว่าๆคงทดแทนเชื้อเดลตาหมด นี่ผ่านไปกว่า 2 สัปดาห์แล้วเรารู้อะไรเกี่ยวกับ omicron บ้าง
1. หลบภูมิคุ้มกันได้ดีมากทั้งจากวัคซีน 1/
และภูมิคุ้มกันที่ได้มาเคยเป็น #โควิด19 ล้วนไม่รอด ติดใหม่หมด แอนติบอดีที่ใช้ในการรักษาหลายชนิดใช้ไม่ได้ (ทดสอบในหลอดทดลอง)
2. ภูมิคุ้มกันที่ได้จาก AstraZeneca x 2 เท่ากับ 0 และ Pfizer x 2 เท่ากับ 30% ที่ 25 สัปดาห์ การกระตุ้นด้วยเข็มสามทำให้ภูมิขึ้นไป 70 กว่าเปอร์เซ็นต์
2/
3/ ความรุนแรงที่เกิดในแอฟริกาใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัด #Gauteng ดูไม่ค่อยรุนแรง ตอนนี้ถึงพีคเร็วกว่าที่คิด และกำลังจะลงแล้ว (credit: @pieterstreicher ) เข้าโรงพยาบาลก็น้อย เข้า ICU น้อย และใช้เครื่องช่วยหายใจน้อยด้วย แต่เราต้องไม่ลืมว่าที่นั่นมีบริบทเฉพาะของเค้าด้วย 3/
Read 14 tweets
11 Dec
เมื่อคืน สหราชอาณาจักรออก technical briefing มา สรุปละกันนะครับ
1. ติดง่ายกว่าเดลต้า 2.6 (ในครอบครัว) เมื่อเทียบกับเดลต้า
2. #วัคซีนโควิด AZ 2 เข็มที่ 6 สัปดาห์ประสิทธิผลป้องกัน #โควิด #omicron แบบมีอาการ 0% Pfizer เกือบๆ 40%
3. เข็มด้วย Pfizer บูส AZ/AZ ขึ้น กว่า 70% 1/ ImageImage
Pfizer/Pfizer บูสด้วย Pfizer ประสิทธิผลต่อ omicron เกือบ 80%
Caveats- ตามแค่ 2 สัปดาห์นะครับ ไม่รู้ว่าต่อจากนี้จะร่วงไปเท่าไร แต่บูสช่วยแน่
4. Prof John Edmunds พูดใน Royal Society ว่า เคสเพิ่มเท่าตัวทุก 2-3 วัน ถ้าเมื่อไร เคสถึง 1000 คน อีลังกฤษจะถึง 64,000 คนใน 2 สัปดาห์ 2/ Image
Prof Edmunds ไม่ค่อยเห็นว่า #omicron จะอ่อนกว่า #delta แต่ถึงอ่อนกว่า แต่ถ้าแพร่เร็วกว่าหลายเท่า ยิ่งแพร่เข้าคนที่มีภูมิแล้วได้ด้วย จำนวนผู้ติดเชื้อจะมากมาย เปอร์เซ็นต์การตายน้อยๆ (ในกรณีถ้า omicron ไม่รุนแรง) ของคนติดเชื้อจำนวนมาก ก็มีคนตายมาก และล้นโรงพยาบาลเอาเรื่องอยู่ 3/
Read 6 tweets
10 Dec
เริ่มด้วยค่า Rt แล้วกันครับ Rt เป็นค่าที่บอกว่า คนติดเชื้อ 1 คนแพร่ไปได้กี่คน เช่น Rt ของ #omicron ใน แอฟริกาใต้ 3.8 เท่ากับ 1 คนแพร่ได้ 3.8 คน เดลตาต่ำกว่ามาก อังกฤษสูงกว่ามาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเป็นการนำเข้า/การค้นหาเคสเมื่อเริ่มต้น เดี๋ยวค่า Rt คงลงมาเหมือนแอฟริกาใต้ 1/ Image
เดลต้ามีค่า Rt ต่ำเพราะในประชากรมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้วจากการติดเชื้อและวัคซีนนะครับ ส่วน #omicron มีโปรตีนด้านนอกที่หน้าตาเปลี่ยนแปลงไปมาก จึงมีการระบาดได้สูงมาก เพราะหลบภูมิได้ (จะมีปัจจัยเรื่องไวรัสมีความสามารถในการเกาะเซลล์ได้ดีด้วยหรือเปล่าตอนนี้เป็น speculation ครับ) 2/
รอหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ และเช่นเดียวกันว่าที่องค์กรการเมืองชื่อ WHO (ผมถนัดเรียกแบบนี้) ออกมาบอกว่า #omicron อาจเกิดโรคอาการไม่รุนแรงก็เป็น speculation เช่นกันครับ They wished จริงๆแล้ว we all wishes แต่มันจะรุนแรงไม่รุนแรงรอต่อไปครับ ประเทศที่จะเห็นว่า #omicron จะรุนแรง 3/
Read 4 tweets
11 Nov
มีการศึกษาที่นับว่าเป็น landmark เกี่ยวกับ #วัคซีนโควิด แม้ว่ายังไม่ได้ตีพิมพ์เป็นทางการ แต่ดูดีมากจะมาเล่าให้ฟังนะครับ การศึกษานี้ทำในอาสาสมัครเกือบ 9,000 คน ติดตามหลังฉีด AstraZeneca (AZ) และไฟเซอร์ (Pz) ไปประมาณเกือบ 4 เดือน เก็บเลือดตรวจแอนติบอดีเป็นระยะ และตรวจการติดเชื้อ 1/
เป็นระยะเช่นกันเพื่อวิเคราะห์การกระตุ้นภูมิ การลดลงของภูมิตอบสนอง และที่สำคัญที่สุดประสิทธิภาพในการป้องการติดเชื้อที่ลดลง
1. 3 สัปดาห์หลังฉีด AZ มีค่าแอนติบอดี 1025 U/ml, Pz 9039 U/ml
2. วัคซีนทั้ง 2 ชนิดมีภูมิลดลงตามเวลาที่ผ่านไป AZ เหลือ 342และ Pz เหลือ 1521 U/ml ตอน 20 wks 2/ Image
3. ผู้วิจัยพบว่าผู้ที่มีแอนติบอดีสูงกว่า 500 U/ml มีความเสี่ยงต่ำกว่าผู้ที่มีแอนติบอดีที่ต่ำกว่า 500 U/ml
4. เวลาจากเข็มสองถึงจุด 500 U/ml ของ AZ เท่ากับ 96 วัน สำหรับ Pz 257 วัน
5. ผู้ที่รับวัคซีน AZ มีความเสี่ยงที่ติดเชื้อมากกว่า Pz (OR: 1.43, 95% CIs:1.18-1.73, p<0.001)
3/ ImageImage
Read 6 tweets
31 May
#วัคซีนโควิด19 ตอน 1
§ชนิดของวัคซีน
1. วัคซีนเชื้อตาย ( Sinovac (CoronaVac), Sinopharm, Bharat)
*วิธี: นำไวรัสมาเลี้ยงในเซลล์ ฆ่าให้ตายด้วยสารเคมี ทำให้บริสุทธิ์ และบรรจุขวดพร้อมใส่สารช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (adjuvant)
*ข้อดี: 1.มีโปรตีนของไวรัสหลายชนิด ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อ 1/
ไวรัสได้หลายเป้าหมาย แม้ว่าเป้าหมายแรกมีการกลายพันธุ์ไป ยังเหลืออีกหลายเป้าหมายให้ภูมิคุ้มกันจัดการ 2. เป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมที่เราใช้กันมานาน เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้า และวัคซีนไข้หวัดใหญ่
*ข้อด้อย: 1. กระตุ้นภูมิตอบสนองได้ไม่ค่อยดีนัก 2. กระบวนการฆ่าไวรัสด้วยสารเคมีอาจทำลาย 2/
โครงสร้างดั้งเดิมของไวรัสทำให้ภูมิตอบสนองไม่เหมือนกับภูมิต่อไวรัสจริงๆ 3. มีโปรตีนทุกชนิดของไวรัส โปรตีนบางชนิดอาจไม่มีความจำเป็นในการคุ้มกันร่างกาย 4. อาจกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกัน (cellular immunity) ได้ไม่ดี
§ 2. วัคซีนเชื้อเป็นแต่อ่อนแรง (ยังไม่มีวัคซีนชนิดนี้สำหรับโรค #โควิด 3/
Read 15 tweets

Did Thread Reader help you today?

Support us! We are indie developers!


This site is made by just two indie developers on a laptop doing marketing, support and development! Read more about the story.

Become a Premium Member ($3/month or $30/year) and get exclusive features!

Become Premium

Too expensive? Make a small donation by buying us coffee ($5) or help with server cost ($10)

Donate via Paypal

Or Donate anonymously using crypto!

Ethereum

0xfe58350B80634f60Fa6Dc149a72b4DFbc17D341E copy

Bitcoin

3ATGMxNzCUFzxpMCHL5sWSt4DVtS8UqXpi copy

Thank you for your support!

Follow Us on Twitter!

:(